อาการเสียวงจรหลอดไฟให้แสงสว่างตามบ้าน แนวทางแก้ หลอดไฟติดๆ ดับๆ หลอดไฟกระพริบ หลอดไฟไม่ติด หลอดไฟไม่สว่าง บัลลาสต์มีเสียงคราง

หลอดไฟที่นิยมใช้ตามบ้านคือหลอดฟลูออเรสเซนต์เนื่องจากประหยัดไฟและราคาไม่แพงมาก ขณะเดียวกันให้ประสิทธิภาพแสงสว่างที่ดี   วงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์ประกอบด้วยส่วนหลักๆคือ หลอดฟลูออเรสเซนต์  สตาร์ทเตอร์  และ  บัลลาสต์  เวลาวงจรหลอดไฟเสียเราก็ต้องมาเช็คส่วนประกอบที่สำคัญเหล่านี้   อาการเสียของวงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์คือ  หลอดไฟติดๆ ดับๆ  หรือ หลอดไฟกระพริบ   หลอดไฟไม่ติด  หลอดไฟไม่สว่าง  หลอดสว่างแล้วดับ  หลอดมีแสงสลัว   บัลลาสต์มีเสียงคราง  เป็นต้น  ก่อนเช็คหรือซ่อมมารู้จักวงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์ก่อน เพื่อใช้วงจรนี้ไล่เช็คอาการเสียต่างๆเป็นลำดับขั้นตอน


หลอดฟลูออเรสเซนต์  ຫລອດໄຟ
วงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์  ຫລອດໄຟ   หลอดฟลูออเรสเซนต์
                              วงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์  เป็นวงจรหลอดไฟที่นิยมใช้ตามบ้าน



อาการเสียวงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์ให้แสงสว่างตามบ้าน  และ แนวทางแก้

1)     หลอดไฟไม่ติด  หรือ  หลอดไฟไม่สว่าง  
อาการ :   เปิดสวิตช์แล้วหลอดไฟไม่สว่าง  สาเหตุที่เป็นไปได้มีหลายอย่าง ให้ไล่เช็คเป็นลำดับดังนี้ ให้เช็คอะไร ?   ก็เช็คอุปกรณ์หลักๆที่อยู่ในวงจรหลอดไฟตามรูปด้านบน
-  ไฟมาหรือยัง  ?   ไล่เช็คเส้นทางของไฟ  ให้เช็คไฟที่บัลลาสต์ว่ามีไฟมาหรือยัง   สายไฟอาจขาด จุดต่อต่างๆขั้วหลอดอาจหลวม   ไล่ไฟกลับไฟยังสวิตช์เปิดปิดมีหลายครั้งหน้าสัมผัสของสวิตช์เสีย

หลอดฟลูออเรสเซนต์

หลอดฟลูออเรสเซนต์
                                 ใช้ไขควงเช็คไฟวัดไฟที่ขั้วต่อบัลลาสต์ว่ามีไฟมาหรือยัง   ?


-  หลอดไฟขาดหรือไม่   ?    วิธีเช็คหลอดไฟว่าขาดหรือไม่ ใช้มัลติมิเตอร์ตั้งย่านวัดโอห์มวัดไส้หลอดถ้าหลอดยังดีต้องมีค่าความต้านทานขึ้นตามรูป  ถ้าหลอดขาดจะไม่ขึ้นค่าความต้านทานเลย  อีกวิธีให้นำหลอดไฟที่สงสัยว่าจะเสียไปต่อกับวงจรหลอดไฟจุดอื่นๆในบ้านที่สว่างปกติ ถ้าต่อทดสอบกับจุดอื่นแล้วหลอดไฟไม่สว่างแสดงว่าหลอดไฟเสียแล้ว ถ้าหลอดไฟยังสว่างแสดงว่าหลอดไฟยังดีอยู่  ให้ไล่เช็คอุปกรณ์ตัวอื่นๆต่อ

อาการเสียวงจรหลอดไฟ   ຫລອດໄຟ   หลอดไฟ
                                                         เช็คไส้หลอด ถ้าไม่ขาดจะมีค่าความต้านทาน


-  บัลลาสต์ขาดหรือไม่  ?   วิธีเช็คบัลลาสต์ สามารถเช็คได้ตอนมีไฟ และเช็คตอนไม่มีไฟ    วิธีเช็คบัลลาสต์ตอนมีไฟคือหลังจากเปิดสวิตช์แล้วต้องมีไฟที่ขั้วบัลลาสต์ทั้งเส้นไฟเข้าและเส้นไฟออก ลักษณะบัลลาสต์ก็เหมือนขดลวดไฟเข้ามาแล้วต้องผ่านออกไปยังหลอดไฟได้   ถ้าไม่มีไฟขั้วไฟออกแสดงว่าขดลวดขาด    วิธีเช็คบัลลาสต์ตอนไม่มีไฟคือให้ปิดสวิตช์และถอดสายไฟออกจากบัลลาสต์ 1 เส้นแล้ววัดค่าความต้านทานของขดลวดถ้าขดลวดไม่ขาดจะขึ้นค่าความต้านทาน   อีกอาการเสียของบัลลาสต์คือขดลวดช๊อตกันถ้าใช้มัลติมิตเตอร์วัดแล้วจะได้ค่าความต้านทานต่ำมาก ปกติแล้วถ้าบัลลาสต์ดีจะมีค่าความต้านทาน 30-100 โอห์มขึ้นอยู่กับขนาดวัตต์ของบัลลาสต์

                                                 วิธีเช็คบัลลาสต์ เช็คตอนมีไฟใช้ไขควงวัดไฟ

อาการเสียวงจรหลอดไฟ   วิธีเช็คบัลลาสต์

               วิธีเช็คบัลลาสต์ตอนไม่มีไฟ คือปิดสวิตช์ปลดสายออก 1 เส้น  แล้ววัดค่าความต้านทาน
               บัลลาสต์ดีจะมีค่าความต้านทาน 30-100 โอห์ม   ขึ้นอยู่กับขนาดวัตต์ของบัลลาสต์
               ขาด- วัดแล้วไม่ขึ้นค่าความต้านทานเลย   ช๊อต-วัดแล้วได้ค่าความต้านทานต่ำมาก


-  สตาร์ทเตอร์เสียหรือไม่   ?   วิธีเช็คสตาร์ทเตอร์คือให้นำสตาร์ทเตอร์ตัวที่สงสัยว่าจะเสียไปทดสอบกับวงจรหลอดไฟจุดอื่นๆในบ้านที่ยังสว่างปกติ  ถ้าต่อทดสอบกับจุดอื่นแล้วหลอดไฟสว่างปกติแสดงว่าสตาร์ทเตอร์ไม่เสีย  

วิธีเช็คสตาร์ทเตอร์
              นำสตาร์ทเตอร์ตัวที่สงสัยว่าจะเสียไปทดสอบกับวงจรหลอดไฟจุดอื่นๆที่ยังสว่างปกติ


2)     หลอดไฟกระพริบ   หลอดไฟดับๆติดๆ 
สาเหตุที่เป็นไปได้  :   
-   สตาร์ทเตอร์เสีย  ?   บัลลาสต์เสีย   ?   ให้เช็คตามวิธีการในข้อ 1) ด้านบน
-   ไฟตกหรือไม่   ?  ให้ใช้มัลติมิเตอร์เช็ควัดแรงดันไฟฟ้าว่าได้ประมาณ  220VAC ไหม   ?
-   หลอดไฟเสื่อมสภาพใกล้เสีย   สังเกตที่บริเวณใกล้ขั้วหลวดจะมีสีดำชัดเจน  ให้นำหลอดไฟตัวที่สงสัยว่าจะเสียไปทดสอบที่วงจรหลอดไฟจุดอื่นๆ  
-   ขั้วหลอดเสีย   กระแสไฟฟ้าไหลไม่สะดวก ให้ลองทำความสะอาดแล้วปรับให้มันยึดขั้วหลอดไฟให้แน่น

3)   หลอดไฟมีแสงสลัว   มีคราบฝุ่นต่างๆติดที่ตัวหลอดไฟ    ให้ทำความสะอาดหลอดไฟ
4)   บัลลาสต์มีเสียงคราง 
สาเหตุที่เป็นไปได้  :  
-  ยึดบัลลาสต์ไม่แน่น ให้ขันน๊อตให้แน่น
- ใช้ขนาดวัตต์ของบัลลาสต์ไม่เหมาะกับขนาดวัตต์ของหลอดไฟ   ให้เลือกใช้ให้เหมาะสม
-  บัลลาสต์เสื่อมสภาพ ใช้ไปนานๆแกนเหล็กข้างในมีคุณสมบัติเปลี่ยนไป   ให้เปลี่ยนบัลลาสต์



เลือกหัวข้อ    เพื่อ   อ่านต่อ    
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   มี   17  ตอน