แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แนวทาง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แนวทาง แสดงบทความทั้งหมด

แนวทางทั่วไป ซ่อมวงจรอิเล็กทรอนิกส์    พื้นฐานการซ่อมบอร์ด

การซ่อมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์อย่างน้อยที่สุดต้องมี   5  ข้อต่อไปนี้  ลองเช็คว่ายังขาดส่วนไหนเช่นยังวัดอุปกรณ์ดีเสียไม่เป็น.....ก็สามารถเรียนรู้เพิ่มได้ตลอดเวลาเพื่อเติมเต็มในส่วนที่ยังขาดอยู่      

 1)  พื้นฐานการใช้งานมัลติมิเตอร์เพื่อวัดไฟตามจุดต่างๆ และใช้วัดสภาพอุปกรณ์ว่าดีหรือเสีย                   2) ต้องรู้วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น  วงจรอนุกรม  วงจรขนาน ไฟ AC  ไฟ  DC  ความหมายของคำว่า ไฟฟ้าลัดวงจร ไฟฟ้าช๊อตและการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า  เป็นต้น  เพื่อให้ปฏิบัติงานซ่อมได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งงานที่ซ่อมเสร็จนอกจากวงจรจะต้องทำงานได้ปกติแล้วยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของวงจรด้วย เช่น สายไฟหลุดแล้วต้องไม่ซ๊อตกัน  กรณีวงจรทำงานผิดปกติมีกระแสเกินแล้ววงจรต้องตัดการทำงานด้วยอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน   เป็นต้น                                                                                                     3)  รู้จักอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้นและหลักการทำงานของมัน  เช่น  ฟิวส์   รีเลย์  ตัวต้านทาน  ตัวเก็บประจุ  หม้อแปลงไฟฟ้า  ลำโพง  ไดโอด   ทรานซิสเตอร์   เป็นต้น  การรู้หลักการทำงานของมันทำให้สามารถไล่วงจรอิเล็กทรอนิกส์และหาอะไหล่แทนได้                                                                       4)  รู้จักวงจรพื้นฐานต่างๆ เริ่มจากหัดไล่วงจรง่ายๆก่อน หนังสือจำพวกโครงงานต่างๆจะแนะนำให้หัดไล่วงจรและการทำงานของวงจรพื้นฐานได้เป็นอย่างดี                                                                                     5)  ทักษะพื้นฐาน เช่น การใช้หัวแร้งบัดกรี  การอ่านค่าอุปกรณ์เป็น  เป็นต้น


ซ่อมวงจรอิเล็กทรอนิกส์     พื้นฐานการซ่อมบอร์ด


การซ่อมให้เริ่มดูจากอาการเสียก่อนและไล่เช็คแผงวงจรไปที่ละจุดแบบ  1-2-3-4  มีแนวทางทั่วไปสำหรับซ่อมวงจรอิเล็กทรอนิกส์เป็นข้อๆต่อไปนี้    เพื่อประหยัดเวลาซ่อมและงานซ่อมออกเยอะๆให้มุ่งไปที่อุปกรณ์ที่มีโอกาสเสียง่ายก่อน  ให้เช็คจุดต่างๆดังนี้ 

1.  จุดเชื่อมต่อและเส้นทางไหลของกระแสไฟฟ้า  เช่น สายไฟ  คอนเนกเตอร์  ขั้วต่อ ลายวงจรขาด ทั้งในส่วนของพาวเวอร์ และ   ส่วนเส้นทางของสัญญาณ

2. อุปกรณ์ที่มีกลไกการเคลื่อนที่  เช่น  รีเลย์  สวิตช์ชนิดต่างๆ  สวิตช์ทุกชนิดมีอายุการใช้งาน  ลองเช็คดูว่ามันเสียไหมหรือปกติดี  ?  ลองกดเปิดปิดแล้วเช็คสถานะของคอนแทคมันเปลี่ยนตามการกดหรือไม่  ?

3. อุปกรณ์พาวเวอร์มีโอกาสเสียสูง  สังเกตง่ายๆมันเป็นอุปกรณ์ตัวใหญ่มีกระแสไหลผ่านสูง เช่น ทรานซิสเตอร์  มอสเฟต  SCR  ไดโอด  เป็นต้น อีกทั้ง IC ก็มีโอกาสเสียรองลงมา  อุปกรณ์พาวเวอร์ชอบเสียในลักษณะช๊อตหรือขาด การวัดดีเสียแบบไร้กระบวนท่าคือวัดแล้วขึ้นสุดสเกลทั้ง 2 ครั้งหรือได้ 0 โอห์มตลอดคือซ๊อตแล้ว การวัดทรานซิสเตอร์ใช้ Rx1K สุ่มวัดขาต่างๆแล้วเข็มไม่ขึ้นเลยสักครั้งคือมันขาดแล้ว ( ปกติการวัดทรานซิสเตอร์ถ้ามันดีตรงขา B-E กับขา  B-C จะวัดขึ้น 1 ครั้งและวัดไม่ขึ้น 1 ครั้ง ) ที่ท้ายบทความจะอธิบายการวัดทรานซิสเตอร์แบบสุ่มอีกรอบ

4. อุปกรณ์ป้องกันก็มีโอกาสเสียสูง   เมื่อวงจรทำงานผิดปกติเนื่องจากสาเหตุต่างๆ เช่น มีกระแสเกิน แรงดันเกิน  อุปกรณ์ป้องกันมีหน้าที่เป็นด่านแรกที่จะป้องกันและเสียลละตัวเอง ตัดวงจรออกก่อนที่ส่วนอื่นๆจะเสียหาย  กลุ่มอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้องกัน เช่น   ฟิวส์    ซีเนอร์ไดโอด   วาริสเตอร์ ( MOV ) เป็นต้น

5. ใช้วงจร ( Manual) และคู่มือซ่อมให้เป็นประโยชน์  ถึงแม้วงจรพื้นฐานประเภทเดียวกันจะมีหลักการทำงานกว้างๆเหมือนกัน แต่ผู้ผลิตวงจรแต่ละรายมีเทคนิคและคิดค้นพัฒนาวงจรมาไม่เหมือนกันทีเดียว มีรายละเอียดปลีกย่อยและ วงจรที่ซับซ้อนต้องใช้วงจรประกอบการซ่อมและไล่เป็นบล๊อคไดอะแกรมไป หลายครั้งพบว่าผู้ผลิตอุปกรณ์มีคู่มืออุปกรณ์ให้พร้อมกับแนะนำวิธีแก้ปัญหาเมื่อวงจรเสียแบบต่างๆ   สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์สูงผ่านการซ่อมมาเยอะก็สามารถจำวงจรหลักและอาการเสียของยี่ห้อต่างๆได้เลยทีเดียว เราก็สามารถเรียนรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์สูงได้  ส่วนตัวเราเองจะมีประสบการณ์ได้ต้องซ่อมเยอะๆเพื่อให้เจอเคสต่างๆเยอะๆเมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่งเราก็จะกลายเป็นผู้ที่มีประสบการณ์สูงได้เช่นกัน   " ก่อนซ่อมอุปกรณ์ต่างๆ ต้องรู้จักหลักการทำงานและวงจรเบื้องต้นของมันก่อน " 



หนังสือ ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า
                                          หนังสือ  ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านด้วยตัวเอง

ช่างอิเล็กทรอนิกส์ก็สามารถซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ไม่ยากเพราะช่างอิเล็กทรอนิกส์มีพื้นฐานการใช้มัลติมิเตอร์ที่ดีมาก  เข้าใจวงจรไฟฟ้าเบื้องต้น และ รู้จักอุปกรณ์และวัดอุปกรณ์ดีเสียเป็น เรียนรู้หลักการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มอีกนิดก็จะซ่อมได้   หนังสือเล่มนี้ใช้ชื่อหนังสือค้นใน Google  " ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านด้วยตัวเอง "  ก็จะเจอในร้านออนไลน์และร้านหนังสือใหญ่ๆ และห้องสมุดบางแห่งอาจจะมี


การวัดอุปกรณ์ในบอร์ด

การวัดอุปกรณ์มีทั้งตัวที่สามารถวัดในวงจรเพื่อเช็คดีเสียเบื้องต้นได้ และ บางตัวต้องถอดออกมาวัดนอกวงจรหรือต้องลอยขาอุปกรณ์หนึ่งข้างก่อนจึงจะวัดได้  อีกหนึ่งวิธีที่นิยมทำกันก็คือวัดเปรียบเทียบกันสมมุติว่าในบอร์ดมีทรานซิสเตอร์เบอร์เดียวกันหลายตัวก็ให้วัดเทียบค่าความต้านทาน

1. อุปกรณ์ที่สามารถวัดในวงจรคร่าวๆเพื่อเช็คว่าดีหรือเสีย โดยไม่ต้องถอดออกจากวงจร ( แต่ต้องถอดปลั๊กก่อนวัดทุกครั้งหรือวัดในขณะที่ไม่มีไฟ )    มีตัวต้านทาน   LED   ไดโอด  ลำโพง  บัซเซอร์  เป็นต้น

2. อาการเสียของตัวต้านทาน  ตัวต้านทานปรับค่าได้หรือวอลุ่มผงคาร์บอนข้างในมักจะสึกกร่อนทำให้สัญญาณสะดุดไม่ต่อเนื่องได้เวลาเปลี่ยนมันแล้ว  ตัวต้านทานไวร์วาวเส้นลวดมักจะขาดวัดแล้วเข็มไม่ขึ้นเลยเนื่องจากมันเป็นอุปกรณ์ที่เรียกว่า Power Resistor มักจะเสียในลักษณะขาด   ตัวต้านทานชนิดอื่นๆมักจะขาดและยืดค่า กรณีค่าความต้านทานยืดค่านี้ทำให้กระแสและแรงดันในวงจรเปลี่ยนไปและทำให้จุดทำงานจุดไบบัสของวงจรเปลี่ยนไปด้วยผลคือวงจรอาจทำงานผิดปกติ

3. เมื่อใช้ย่านวัดตัวต้านทาน ( Ohm Meter ) รวมทั้งย่านวัดความต่อเนื่อง ( ย่านวัดเสียง)  วัดอุปกรณ์ต่างๆในบอร์ด  ต้องวัดขณะที่ไม่มีไฟอยู่  ให้ตัดไฟหรือถอดปลั๊กก่อนทุกครั้ง เนื่องจากย่านวัดตัวต้านทานใช้ไฟจากแบตเตอร์รี่ข้างใน  ระบบไฟจะชนกันและหลักการทำงานมันขัดแย้งกันทำให้มิเตอร์พังและวัดเพี้ยนได้

4. เช็คดูย่านวัดให้ดีก่อนวัดว่าใช้ย่านวัดถูกต้องไหม  ?    ห้ามตั้งย่านวัดแรงดันแล้วไปวัดกระแส  ห้ามตั้งย่านวัดกระแสแล้วไปวัดแรงดันเพราะมิเตอร์จะพังทันที เนื่องจากหลักการทำงานของแต่ละย่านวัดไม่เหมือนกันการตั้งย่านวัดผิดคือใช้งานวงจรผิดประเภทมันขัดแย้งกับหน้าที่วงจรที่ออกแบบไว้    กรณีตั้งย่านวัดผิดมัลติมิเตอร์ดิจิตอลบางรุ่นมีอุปกรณ์ป้องกันก็ดีไปและมัลติมิเตอร์ที่ไม่มีวงจรป้องกันก็จะพัง การซ่อมมัลติมิเตอร์ถึงแม้จะซ่อมได้แต่มันจะไม่เหมือนเดิมเพราะมันเป็นเครื่องมือวัดละเอียดต้องมีการคาลิเบตเพื่อให้ได้ค่าการวัดที่เที่ยงตรงและถูกต้อง การคาลิเบตต้องให้โรงงานผลิตหรือศูนย์รับคาลิเบตเครื่องมือวัดโดยเฉพาะเป็นผู้ปรับค่า

5. คาปาซิเตอร์ไฮล์โวลต์และคาปาซิเตอร์ตัวใหญ่ให้คิดไว้ก่อนว่ามีไฟค้างแน่ๆ  ให้ใช้โวลต์มิเตอร์วัดไฟดูก่อนว่ามีไฟค้างไหม  กรณีมีไฟค้างต้องดิสชาร์จก่อน


แนวทางการสุ่มวัดทรานซิสเตอร์
                                               แนวทางการสุ่มวัดทรานซิสเตอร์โดยไม่ต้องสนใจขา

แนวทางการสุ่มวัดทรานซิสเตอร์ ถ้าทรานซิสเตอร์ดีเมื่อใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็มย่านวัด  Rx1K วัดขา B กับ E  และวัดขา  B กับ C  เข็มต้องขึ้น 1 ครั้งและไม่ขึ้น 1 ครั้ง  จะเป็นลักษณะนี้ถ้าทรานซิสเตอร์ดี ( โดยไม่ต้องสนใจขา )  ถ้าสุ่มวัดขาต่างๆแล้วเข็มไม่ขึ้นเลยไม่มีการเคลื่อนของเข็มเลยคือเสียลักษณะขาดแล้ว   ถ้าสุ่มวัดขาต่างๆแล้วเข็มขึ้นสุดสเกลตลอดคือเสียลักษณะช๊อตแล้ว



เลือกหัวข้อต่อไปนี้   เพื่ออ่านต่อ    
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   มี   17  ตอน