รวมเรื่องการบัดกรี ฟลักซ์คืออะไร ส่วนต่างๆของแผ่น PCB ลักษณะการบัดกรีที่ดี การบำรุงรักษาปลายหัวแร้ง ( ເອເລັກໂຕຣນິກ )

การบัดกรีคือการเชื่อมโลหะ 2 ชิ้นเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้การเชื่อมต่อทางกลที่แข็งแรงและเป็นเส้นทางไหลของกระแสไฟฟ้าได้สะดวก    งานพื้นฐานของช่างไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์คือการบัดกรี ตอนนี้จะอธิบายเรื่องที่สำคัญจำเป็นต้องทราบสำหรับงานบัดกรี    เริ่มด้วยส่วนต่างๆของแผ่น PCB หรือแผ่นปริ้น เนื่องจากต้องอ้างถึงตอนทำการบัดกรี  จากนั้นมารู้จักฟลักซ์คืออะไรก่อนทำการบัดกรี     สุดท้ายจะกล่าวถึง   การบำรุงรักษาปลายหัวแร้ง  

ฟลักซ์คืออะไร   ส่วนต่างๆของแผ่น PCB   ลักษณะการบัดกรีที่ดี    การบำรุงรักษาปลายหัวแร้ง




ส่วนต่างๆของแผ่นปริ้นที่จำเป็นต้องทราบก่อนบัดกรี

1. ลายทองแดง เป็นส่วนที่อยู่ข้างในสุดเป็นเส้นทางไหลของกระแสไฟฟ้าและเชื่อมอุปกรณ์ต่างๆ




2. Solder Mask  คือชั้นที่เป็น สีน้ำเงิน  สีเขียว   มีสีแดงด้วย  Solder Mask   ทำหน้าที่เป็นฉนวนหุ้มปิดลายทองแดงที่อยู่ด้านในและป้องกันทองแดงไม่ให้โดนอากาศเนื่องจากถ้าทองแดงโดนอากาศจะเป็นออกไซด์กระแสไหลไม่สะดวก   นอกจากนี้สีของ Solder Mask ยังทำให้เราแยกแยะส่วนที่เป็นโลหะกับส่วนอื่นๆ เพื่อจะให้เห็นจุดที่ต้องบัดกรีงานได้ง่ายขึ้น    Mask  แปลตรงๆว่า หน้ากาก ช่วยป้องกันส่วนที่อยู่ด้านใน




3. Silk Screen คือ ตัวอักษร ข้อความต่างๆ เพื่อบอกชนิดของอุปกรณ์ ค่าของอุปกรณ์  ตำเหน่งขา ทิศทางการเสียบขาอุปกรณ์  Silk Screen นี้จะปริ้นอยู่บน  Solder Mask อีกที ประโยชน์หลักๆของ Silk Screen คือบอกข้อมูลของอุปกรณ์ซึ่งช่วยให้ผู้ประกอบวงจรใส่อุปกรณ์ได้ถูกต้อง
4.  แพด ( Pad ) คือส่วนที่เป็นโลหะซึ่งโผล่ออกมาสำหรับบัดกรีกับขาอุปกรณ์  ตามรูปด้านล่างที่วงกลมสีแดงไว้คือแพด


    



                                     แพด ( Pad ) คือบริเวณพื้นที่โลหะที่จะบัดกรีกับขาอุปกรณ์    




ฟลักซ์ (   FLUX ) คืออะไร   ?
ฟลักซ์เป็นสารเคมีชื่อเรียกภาษาไทยว่า " น้ำยาประสานช่วยบัดกรี"   จากการศึกษาข้อมูลจากผู้ผลิตตะกั่วบัดกรี สรุปได้ว่าฟลักมีประโยชน์หลายอย่าง  1). ช่วยทำความสะอาดพื้นผิวโลหะที่จะบัดกรี โดยการขจัดคราบออกไซด์ออกจากผิวโลหะ   2. ทำให้ตะกั่วไหลไปตามบริเวณที่จะบัดกรีซึ่งช่วยให้ตะกั่วเต็มพื้นที่แพดและบัดกรีได้ง่ายขึ้น   3. ทำให้ผิวโลหะที่จะบัดกรีเชื่อมกันได้ดีผลคือมีการนำกระแสไฟฟ้าที่ดีนั่นเอง  ยกตัวอย่างการเชื่อมสายไฟ 2 เส้นจะนิยมจุ่มฟลักตลับก่อนเพื่อให้บัดกรีได้ง่าย   เส้นตะกั่วที่นิยมใช้งานจะมีฟลักอยู่ด้านในของเส้นตะกั่วเลย ( ดูที่รูปด้านล่าง )   นอกจากนี้ฟลักยังมีขายแบบเป็นตลับสีแดง สีเหลือง สรุปฟลักเป็นตัวช่วยให้งานบัดกรีมีคุณภาพและบัดกรีง่าย

ตะกั่วบัดกรี
                                                        ตะกั่วบัดกรีแบบมีฟลัก จะระบุไว้ที่ฉลาก

ตะกั่วบัดกรี

ตะกั่วบัดกรี




เส้นตะกั่วแบบมีฟลักอยู่ด้านใน
                                                          เส้นตะกั่วบัดกรีแบบมีฟลักอยู่ข้างใน


                                       ฟลักตลับ  ฉลากบอกประโยชน์ไว้ว่า ช่วยผสานตะกั่ว



ลักษณะการบัดกรีที่ดี 
การบัดกรีคือการเชื่อมโลหะ 2 ชิ้นเข้าด้วยกัน ทำอย่างไรจึงจะได้จุดบัดกรีที่ดี  ?  จุดประสงค์ของการบัดกรีคือได้การเชื่อมต่อทางกลที่แข็งแรงและโลหะ 2 ชิ้นที่เชื่อมกันมีการนำกระแสไฟฟ้าที่ดีด้วย
 
1. ทำความสะอาดชิ้นงานก่อนบัดกรี ถ้าเป็นสายไฟเก่าให้ตัดทิ้งตัวนำที่โดนอากาศนานๆจะบัดกรีไม่ค่อยติดให้ปอกสายใหม่และอาจจุ่มฟลัก  กรณีเป็นขาอุปกรณ์เก่าให้ใช้คัตเตอร์ขุดนิดหน่อยเพื่อเอาคราบหนักต่างๆออกก่อน   การทำความสะอาดชิ้นงานก่อนการบัดกรีช่วยให้การบัดกรีง่ายแล้วยังทำให้ได้จุดบัดกรีมีคุณภาพดีด้วย   การทำความสะอาดชิ้นงานหลังการบัดกรีช่วยกำจัดคราบที่เกิดจากการบัดกรีซึ่งคราบนี้ถ้าปล่อยทิ้งไว้ฝุ่นและความชื้นจะมาเกาะทำให้อุปกรณ์ซ๊อตกันและวงจรทำงานผิดปกติได้โดยที่หาสาเหตุไม่เจอ    สุดท้ายหลังจากบัดกรีเรียบร้อยและทำความสะอาดคราบต่างๆแล้วให้เคลื่อบแผ่นปริ้นด้วยน้ำยาเคลือบแผ่นปริ้นเพื่อป้องกันลายทองแดง

2. ให้ความร้อนแก่ชิ้นงานทั้ง 2 ที่จะเชื่อมกัน หลังจากร้อนได้ที่ให้ป้อนตะกั่วใส่  สูตรการบัดกรีคือ หัวแร้งจะเข้าก่อนและออกที่หลัง  หัวแร้งเข้าก่อนเพื่อให้ความร้อนแก่ชิ้นงานทั้ง 2 เมื่อร้อนได้ที่ก็ป้อนตะกั่วใส่   หลังจากตะกั่วละลายและได้ปริมาณที่พอดีกับพื้นที่แพดให้เอาตะกั่วออก หัวแรงจะออกเป็นชิ้นสุดท้ายจากจุดบัดกรี  ระยะเวลาทั้งหมดในการบัดกรีห้ามใช้เวลานานเนื่องจากลายทองและอุปกรณ์จะเสียได้ถ้าแช่หัวแรงไว้นานเกินไป     อุปกรณ์ขนาดเล็กใช้เวลาประมาณ  2-3 วินาทีและอุปกรณ์ขนาดใหญ่ให้ใช้เวลา 3-4 วินาที    ระยะเวลาที่แนะนำไว้นี้ให้ประเมินดูผลงานที่ได้ว่าได้จุดบัดกรีมีคุณภาพหรือไม่


                                                 ให้ความร้อนแก่ชิ้นงานก่อน ( แพดและขาอุปกรณ์)


   สูตรการบัดกรีคือ หัวแร้งเข้าก่อนและออกที่หลัง  หัวแร้งเข้าก่อนเพื่อให้ความร้อนแก่ชิ้นงานทั้ง 2  เมื่อร้อนได้ที่ให้ป้อนตะกั่วหลังจากตะกั่วละลายและได้ปริมาณที่พอดีกับพื้นที่แพดแล้ว  ให้เอาตะกั่วออก  สุดท้ายหัวแรงจะเป็นชิ้นสุดท้ายที่ออกจากจุดบัดกรี


3. จุดบัดกรีที่ดีตะกั่วจะเต็มพื้นที่แพดและเป็นรูปทรงกรวย ให้พื้นผิวมีความเงาวาว ลักษณะจุดบัดกรีที่ต้องปรับปรุงคือตะกั่วน้อยไปทำให้ความแข็งแรงทางกลน้อยกระแสไหลไม่สะดวก  อีกแบบคือใส่ตะกั่วมากเกินไปทำให้ขาอุปกรณ์มีโอกาสช๊อตกันได้อีกทั้งไม่สวยงามด้วย 


                       จุดบัดกรีที่ดีตะกั่วจะเต็มพื้นที่แพดและเป็นรูปทรงกรวย พร้อมมีพื้นผิวที่เงาวาว 


4. ปัญหาที่สำคัญของการบัดกรีคือปลายหัวแร้งไม่ร้อนและปลายหัวแร้งร้อนมากไป หัวแร้งไม่ร้อนให้ทำความสะอาดเอาคราบเขม่าต่างๆออกจากปลายหัวแร้งก่อนบัดกรีงานและชุบปลายหัวแร้งด้วยตะกั่วก่อนทำการบัดกรีทุกครั้ง  การเลือกขนาดปลายหัวแร้งให้เหมาะกับชิ้นงานก็สำคัญส่วนมากงานแผ่นปริ้นจะใช้หัวแร้งปลายทรงกรวยซึ่งเหมาะกับงานละเอียดมีขนาดเล็ก สำหรับงานบัดกรีอุปกรณ์ SMD จะนิยมใช้หัวแรงปลายแบน ปลายหัวแร้งแบบต่างๆมีขายเป็นชุด      ให้ค้นคำว่า "ปลายหัวแร้ง" จะมีปลายหัวแรงรูปแบบต่างๆให้ดู      สุดท้ายขนาดวัตต์ของหัวแร้งก็สำคัญงานบัดกรีแผ่นปริ้นใช้ขนาด 30-60 วัตต์ก็ให้ความร้อนที่มากพอ  ถ้าหัวแร้งวัตต์น้อยไปเมื่อบัดกรีตะกั่วจะละลายยากทำให้ได้งานบัดกรีที่ไม่มีคุณภาพ


 การบำรุงรักษาปลายหัวแร้งต้องทำอย่างไร    ?
จุุดประสงค์การบำรุงรักษาปลายหัวแร้งคือให้มันส่งผ่านความร้อนได้เต็มที่และมีอายุการใช้งานที่นานๆ ต้องเข้าใจที่มาว่าทำไมจึงให้ทำและทำไม่จึงห้ามทำ  โครงสร้างของปลายหัวแร้งส่วนด้านในจะเป็นทองแดงเพื่อรับความร้อนจากฮีตเตอร์และส่งผ่านความร้อนนี้ให้ชิ้นงานบัดกรี  ด้านนอกสุดของทองแดงถูกเคลือบไว้เพื่อป้องกันทองแดงจากออกไซด์    การบำรุงรักษาปลายหัวแร้งที่ผู้ผลิตแนะนำไว้ก็จะกล่าวถึงหลักการกว้างๆไว้เหมือนกันมีดังนี้

1.  ให้ทำความสะอาดปลายหัวแร้งก่อนใช้งานและหลังใช้งาน  ถ้าใช้งานเบา-ปานกลางให้ทำความสะอาดวัดละครั้งและถ้าให้งานหนักให้ทำความสะอาดทุกครั้ง
2. ให้ชุบปลายหัวแร้งด้วยตะกั่วใหม่ก่อนการบัดกรี    โดยให้ขจัดคราบเขม่าสีดำก่อนชุบตะกั่วใหม่  วิธีขจัดคราบเขม่าสีดำให้ถูปลายหัวแร้งที่ร้อนกับผ้าผิวหยาบชุบน้ำชุ่มหรือฝอยชุบน้ำ  ถ้าคราบเขม่าหนักมากให้ใช้ฝอยโลหะหรือกระดาษทรายชนิดละเอียดถูนิดๆเบาๆได้แต่ห้ามตะไบเพราะส่วนที่เคลือบหุ้มปลายหัวแร้งจากโรงงานจะหลุดออกทำให้ส่วนที่เป็นทองแดงโผล่ออกมาโดนอากาศและโดนฟลักทำให้มันสึกกร่อนเร็วขึ้น
3. ให้ชุบปลายหัวแร้งด้วยตะกั่วใหม่ก่อนเลิกงานทุกครั้ง  ก่อนชุบตะกั่วใหม่ให้ขจัดคราบเขม่าก่อน
4. ฝอยทองเหลืองมีสำหรับขจัดตะกั่วก้อนที่ติดปลายหัวแร้ง ให้ถูสไลเบาๆแบบเสียบเข้าไปในเส้นฝอย
5. ห้ามจุ่มปลายหัวแร้งกับของเหลวชนิดต่างๆ ซึ่งทำให้โครงสร้างของโลหะและคุณสมบัติมันเปลี่ยนไป
6. ห้ามกดที่ปลายหัวแรงมากเกินไป ให้กดพอตึงมือเท่านั้น ถ้าต้องการแกะชิ้นงานให้ใช้ไขควงแกะหรือคัตเตอร์ตัดงานจะตรงตามลักษณะการใช้งานของอุปกรณ์ ห้ามใช้ปลายหัวแร้งแกะชิ้นงาน
7. หัวแร้งบัดกรีให้ใช้เฉพาะงานบัดกรีเท่านั้นห้ามนำไปใช้ให้ความร้อนงานอื่นๆที่นอกเหนือจากการบัดกรีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
8. ห้ามเปิดหัวแร้งที่อุณภูมิสูงๆทิ้งไว้นานๆ จะทำให้อายุใช้งานของปลายหัวแร้งสั้นลง
9. เลือกปลายหัวแร้งให้เหมาะกับลักษณะงานที่จะบัดกรี ทำให้การบัดกรีง่ายและได้จุดบัดกรีที่มีคุณภาพสูง
10. ปฏิบัติตามหลักการทั่วไปและหลักการเฉพาะที่ระบุไว้ในคู่มือหัวแร้งนั้นๆ เพื่อให้การใช้งานหัวแร้งมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

น้ำยาทำความสะอาดแผ่นปริ้น
                                                              
                                                                 น้ำยาทำความสะอาดแผ่นปริ้น 



ประโยชน์ของน้ำยาทำความสะอาดแผ่นปริ้น   ช่วยให้บัดกรีง่าย  ใช้ทำความสะอาดก่อนบัดกรี  และใช้ทำความสะอาดหลังการบัดกรีเพื่อป้องกันสารเคมีและคราบต่างๆกัดกร่อนแผ่น PCB  นอกจากใช้ทำความสะอาดแผ่น PCB แล้วยังใช้ทำความสะอาดขาอุปกรณ์ด้วย




น้ํายาเคลือบแผ่นปริ้น  PF100
                                                                    น้ำยาเคลือบแผ่นปริ้น PF100

น้ํายาเคลือบแผ่นปริ้น PF100
                                                     ประโยชน์   น้ำยาเคลือบแผ่นปริ้น PF100


         ชุบปลายหัวแร้งด้วยตะกั่วใหม่ก่อนบัดกรีและหลังเลิกงานให้ทำความสะอาดขจัดคราบเขม่าแล้วชุบปลายหัวแร้งด้วยตะกั่วใหม่อีกเช่นกันเพื่อป้องกันออกไซต์เกาะที่ปลายหัวแร้ง




สอนใช้งาน Multi-function  Tester  TC1 เครื่องวัด  อุปกรณ์อิเล็กฯ
ดูที่นี้









เลือกหัวข้อ    เพื่อ    อ่านต่อ    
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์      มี    17   ตอน

วัดคาปาซิเตอร์พัดลม คาปาซิเตอร์แอร์ และ เช็คคาปาซิเตอร์เครื่องซักผ้า ด้วยมัลติมิเตอร์เข็ม และ มัลติมิเตอร์ดิจิตอล

เช็คคาปาซิเตอร์ให้ดูหลายๆแบบ   คาปาซิเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้มากในวงจรพอๆกับตัวต้านทาน  คาปาซิเตอร์มีหลายชนิดแต่ละชนิดมีคุณสมบัติและการนำไปใช้งานแตกต่างกัน เช่นนำไปใช้กับไฟ DC  นำไปใช้กับไฟ AC  เป็นต้น  คาปาซิเตอร์ที่นำไปใช้กับมอเตอร์  คาปาซิเตอร์พัดลม คาปาซิเตอร์แอร์  และ คาปาซิเตอร์เครื่องซักผ้า เป็น  AC คาปาซิเตอร์ คือใช้กับไฟ AC และเป็นชนิดไม่มีขั้ว  สังเกตที่ตัวอุปกรณ์จะมีแรงดันไฟ AC  และค่าความจุของคาปาซิเตอร์ไว้อ้างอิง  ค่าความจุของตัวเก็บประจุมีหน่วยเป็นไมโครฟารัดใช้สัญลักษณ์   uF , MF, MFD


ตัวเก็บประจุ  คาปาซิเตอร์  ຕົວເກັບປະຈຸ    ຕົວເກັບປະຈຸໄຟຟ້າ    kapasitor   конденсатор  संधारित्र     மின்தேக்கி  tụ điện
                                           คาปาซิเตอร์พัดลมใช้กับไฟ AC


การวัดคาปาซิเตอร์ไม่มีขั้ว

ให้วัดขณะที่ไม่มีไฟหรือวัดนอกวงจร  กรณีสงสัยว่ามีไฟค้างอยู่ให้ใช้ย่านวัดไฟ AC วัดดูไฟก่อนถ้าพบว่ามีไฟค้างอยู่ให้ทำการคายประจุก่อนวัดโดยเฉพาะคาปาตัวใหญ่และมีค่าความจุสูงจะมีไฟค้าง   คาปาซิเตอร์พัดลม คาปาซิเตอร์แอร์  และ คาปาซิเตอร์เครื่องซักผ้าใช้กับไฟ AC และเป็นชนิดไม่มีขั้วจะสลับสายวัดอย่างไรก็ได้  หลักการวัดคาปาซิเตอร์ไม่มีขั้ว  

สำหรับมัลติมิเตอร์แบบเข็มให้ใช้ย่านวัด  Rx10K  สำหรับคาปาซิเตอร์ค่าน้อย เช่น 1uF  2UF  5UF และ ค่าประมาณ 20UF ให้ใช้ย่านวัด Rx100  สำหรับดิจิตอลมัลติมิเตอร์ใช้ย่านวัด C วัดคาปาซิเตอร์ได้เลยตามรูป

- ดี คือเข็มขึ้นแล้วลงสุดสเกล 

- ซ๊อตเข็มขึ้นสุดสเกล สลับสายวัดก็ขึ้นสุดสเกลเหมือนเดิม

- ขาด วัดแล้วเข็มไม่ขึ้นเลย

-  รั่วเข็มขึ้นแล้วลงไม่สุดสเกล นิดเดียวก็รั่วเพราะคาปาซิเตอร์ไฟ AC  ปกติเข็มจะไม่ค้างเลย

-ค่าความจุลดลงมาก วัดแล้วค่าได้ความจุน้อยกว่า %  ที่ควรจะเป็นมาก  บางวงจรทำให้ทำงานผิดปกติได้


วัดคาปาซิเตอร์พัดลม  ให้ใช้ย่านวัด  Rx10K  สำหรับคาปาซิเตอร์ค่าน้อย เช่น 1uF  2UF  5UF   เข็มขึ้นแล้วลงสุดสเกล หมายถึงคาปาซิเตอร์ดี

คาปาซิเตอร์พัดลม  Fan Capacitor   kapasitor   конденсатор  संधारित्र     மின்தேக்கி  tụ điện
                                                                 คาปาซิเตอร์พัดลม ค่า 2uF   2.5uF   5uF


การวัดคาปาซิเตอร์   ການວັດ  ຕົວເກັບປະຈຸ    Fan Capacitor  kapasitor   конденсатор  संधारित्र     மின்தேக்கி  tụ điện
                                คาปาซิเตอร์พัดลมค่า 5uF วัดได้ 5.15uF  ได้ค่าใกล้เคียง คาปาซิเตอร์ดี
                                กรณีใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็มวัดให้ได้ย่านวัด Rx10K   เข็มต้องขึ้นแล้วลงสุดสเกล หมายถึงคาปาซิเตอร์ดี


คาปาซิเตอร์เครื่องซักผ้า  washing machine capacitor
                                           คาปาซิเตอร์เครื่องซักผ้า ค่า  7uF  450VAC

Capacitor test  washing machine capacitor    kapasitor   конденсатор  संधारित्र     மின்தேக்கி  tụ điện
                  คาปาซิเตอร์เครื่องซักผ้า ค่า  7uF   วัดได้  7.21uF ได้ใกล้เคียงถือว่าคาปาซิเตอร์ดี
                  กรณีใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็มวัดให้ได้ย่านวัด Rx10K   เข็มต้องขึ้นแล้วลงสุดสเกล หมายถึงคาปาซิเตอร์ดี


คาปาซิเตอร์แอร์  Air conditiner capacitor
                                                  คาปาซิเตอร์แอร์  ค่า  20uF   450VAC

วัดคาปาซิเตอร์   ການວັດ  ຕົວເກັບປະຈຸ    ຕົວເກັບປະຈຸໄຟຟ້າ   Capacitor test
                          คาปาซิเตอร์แอร์  ค่า  20uF   วัดได้  20.26uF ได้ใกล้เคียงถือว่าคาปาซิเตอร์ดี
                         กรณีใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็มวัดให้ได้ย่านวัด Rx100  เข็มต้องขึ้นแล้วลงสุดสเกล หมายถึงคาปาซิเตอร์ดี

กรณีหาเบอร์ตัวใหม่มาแทนตัวที่เสีย ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ  1. ค่าความจุต้องใกล้เคียงของเดิมมากที่สุดหรือได้ค่าเดิมยิ่งดี เช่น 2uF สามารถใช้ 2.5uF แทนได้ แต่การใช้ค่า 5uF แทนจะไม่ดีต่อวงจรเนื่องจากค่ามากไปมันจะดึงกระแสเข้าวงจรมากไป มีผลต่อการทำงานอุปกรณ์อื่นๆ  2. แรงดันไฟต้องเท่ากันกับของเดิมหรือมากกว่าได้  เช่น  5uF 250VAC สามารถใช้ 5uF  500VAC แทนได้เลย




30   เรื่อง   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   ( เป็น ภาษาอังกฤษ)   >  อ่านที่เว็บนี้



เลือกหัวข้อ     เพื่อ    อ่านต่อในเว็บนี้    
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์     มี    17  ตอน

อ่านต่อ  อีก  25 เรื่อง  เลื่อนหน้า >  ด้านล่างสุดของมือถือ  หรือ  เลือกเรื่องจากแถบด้านข้าง

การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตอน วิธี วัดทรานซิสเตอร์จานบิน เช่น เบอร์ 2N3055 ตัวถัง TO-3 จานบิน ( ການວັດ Transistor )

ทรานซิสเตอร์จานบิน  เช่น เบอร์  2N3055 ชนิด NPN  ,   MJ2955 ชนิด PNP , 2SD868 ชนิด NPN  เป็นต้น ตัวถังจานบินมีชื่อเรียกตามมาตรฐานว่า  TO-3   ทรานซิสเตอร์ตัวถังจานบินเป็นทรานซิสเตอร์ขนาดใหญ่หรือพาวเวอร์ทรานซิสเตอร์  ( Power Transistor ) ทนกระแสได้ตั้งแต่หลักแอมป์จนถึงสิบแอมป์ขึ้นแล้วแต่เบอร์  ทรานซิสเตอร์จานบินมักจะเสียลักษณะขาดและซ๊อต ดังการวัดดีเสียจึงมุ่งไปที่การเช็คขาดกับซ๊อตไปเลย  การวัดอาจประยุกต์หลายวิธีเช่นวัดเหมือนวัดทรานซิสเตอร์ทั่วไป  และวัดเหมือนวัดไดโอดขาดไดโอดซ๊อตทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กมีกระแส Ib  Ic ระดับ uA mA ส่วนทรานซิสเตอร์ตัวใหญ่อย่างทรานซิสเตอร์จานบินทำงานที่ระดับกระแส Ib หลายแอมป์ กระแส Ic หลักสิบแอมป์ขึ้น  ทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กสามารถใช้มัลติมิเตอร์วัดได้ดีเนื่องจากไฟที่จ่ายออกสายวัดมิเตอร์  ( 3VDC  15mA  1.5mA  150uA ) มีปริมาณเพียงพอที่จะไบอัสทรานซิสเตอร์เบื้องต้นเพื่อเช็คดีเสียได้ แต่ทรานซิสเตอร์ตัวใหญ่ไฟจากสายวัดมิเตอร์ไม่เพียงพอที่จะไบอัสเบื้องต้นให้มันทำงานได้ดังนั้นทรานซิสเตอร์ตัวใหญ่จึงมุ่งไปที่การวัดเสียแบบขาดและเสียแบบซ๊อต


ทรานซิสเตอร์จานบิน TO-3   ການວັດ   TO-3 transistor
                                      ทรานซิสเตอร์จานบิน  หรือ  ตัวถัง  TO-3  


ขั้นตอนวัดวัดทรานซิสเตอร์จานบิน

1.  หาตำเหน่งของทรานซิสเตอร์จาก Datasheet เช่นเบอร์   2N3055 มีตำเหน่งขาตามรูป    ถ้าวัดชำนาญแล้วอาจใช้วิธีวัดแบบสุ่มไปเลยก็ได้

วัดทรานซิสเตอร์    2N3055   TO-3   transistor
                                   ขาทรานซิสเตอร์เบอร์  2N3055  ที่ใช้วัดสาธิต


2. วัดขา B กับขา E  และวัดขา B  กับขา C สสับสายและวัดอีกครั้งตามรูป ใช้ย่านวัดไดโอดในการวัด ถ้ารอยต่อดีจะแสดงแรงดัน 0.5-0.7V  1 ครั้งและแสดง OL  1 ครั้ง

วัดทรานซิสเตอร์   ການວັດ   test  Transistor
                       วัดขา B กับขา E ทรานซิสเตอร์ดีจะแสดงแรงดัน 0.5-0.7V  1  ครั้ง  เสียแสดง 000V


test    transistor   check  transistor
                 วัดขา B กับขา C ทรานซิสเตอร์ดีจะแสดงแรงดัน 0.5-0.7V  1  ครั้ง  เสียแสดง 000V


TO-3 transistor  test
                                 สลับสาย วัดขา B กับขา E ทรานซิสเตอร์ดีจะแสดง  OL   1 ครั้ง


check  transistor   ການວັດ  Transistor  test
                                 สลับสาย วัดขา B กับขา C  ทรานซิสเตอร์ดีจะแสดง  OL   1 ครั้ง

3. วัด ขา C กับ ขา E  เสียแบบซ๊อต    ใช้ย่านวัดโอห์มในการวัด ถ้าดีจะขึ้น OL ทั้ง 2 ครั้ง ถ้าเสียซ๊อตจะขึ้น O Ohm  สามารถใช้ย่านวัดไดโอดวัดได้เช่นกัน ถ้าดีจะขึ้น OL ทั้ง 2 ครั้ง ถ้าเสียจะขึ้น 000V

TO-3 transistor  test
                             วัด ขา C กับ ขา E  เสียแบบซ๊อต  ดีจะขึ้น OL    เสียขึ้น 0 โอห์ม


วัดทรานซิสเตอร์จานบิน   transistor  test
                               สลับสาย   วัด ขา C กับ ขา E  เสียแบบซ๊อต  ดีจะขึ้น OL     เสียขึ้น 0 โอห์ม


สำหรับการวัดที่เน้นเช็คดีเสียแบบรวดเร็วให้มุ่งไปที่การวัดเสียลักษณะซ๊อตและเสียลักษณะขาดไปเลย โดยใช้ย่านวัดโอห์มสุ่มวัด  เคสคือขา C   และ  2 ขาที่โผล่คือขา B และขา E   ถ้าดีมีค่าความต้านทานขึ้น 1 ครั้ง สลับสายวัดแสดง OL  1 ครั้ง


test  transistor   TO-3 transistor
        ใช้ย่านวัดโอห์มสุ่มวัด   ขา B และขา E   ดีมีค่าความต้านทานขึ้น 1 ครั้ง สลับสายวัดแสดง OL


TO-3 transistor  test
         ใช้ย่านวัดโอห์มสุ่มวัด   ขา B และขา C   ดีมีค่าความต้านทานขึ้น 1 ครั้ง สลับสายวัดแสดง OL



TO-3   transistor  test
                                     สลับสายวัด  วัดขา B กับขา  E  ( สีดำขา B สีแดงขา E )


TO-3 transistor  test
                                สลับสายวัด  วัดขา B กับขา  E  ( สีดำขา B  สีแดงขา C ) เคสคือขา C




30   เรื่อง    การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   ( เป็น ภาษาอังกฤษ)   > อ่านที่เว็บนี้


เลือกหัวข้อ    เพื่อ   อ่านต่อในเว็บนี้    
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์      มี    17   ตอน

อ่านต่อ  อีก  25 เรื่อง  เลื่อนหน้า >  ด้านล่างสุดของมือถือ   หรือ  เลือกเรื่องจากแถบด้านข้าง

วิธีวัดเทอร์โมฟิวส์พัดลม เทอร์โมฟิวส์หม้อหุงข้าว เทอร์โมฟิวส์กระติกน้ำร้อน วัด Thermal fuse ด้วยมัลติมิเตอร์

เทอร์โมฟิวส์เป็นอุปกรณ์ป้องกันเนื่องจากความร้อนเกิน ( Overheating Protection ) ส่วนฟิวส์อีกแบบที่เรารู้จักอยู่แล้วเป็นอุปกรณ์ป้องกันเนื่องจากกระแสเกิน ( Over Current  Protection )  ฟิวส์ 2 แบบนี้ถึงแม้ชื่อฟิวส์เหมือนกันแต่ไม่สามารถใช้แทนกันได้  ( ห้ามใช้แทนกัน )เนื่องจากมีกราฟการทำงานและเงื่อนไขการทำงานและการทดสอบที่แตกต่างกัน ห้ามใช้ฟิวส์ธรรมดาแทนเทอร์โมฟิวส์  เมื่ออุปกรณ์ไฟฟ้าทำงานผิดปกติจะมีความร้อนเกิน ความร้อนเกินนี้ทำให้ฉนวนไฟฟ้าเสียหายและอุปกรณ์ตัวอื่นๆในวงจรเสียหายด้วย  เกิดไฟไหม้และไฟฟ้าลัดวงจร  เทอร์โมฟิวส์ถูกนำไปใช้งานกับอุปกรณ์หลายอย่างที่ทำงานผิดปกติแล้วมีความร้อนเกิน เช่น  พัดลม เตารีด  หม้อหุงข้าวไฟฟ้า  ฮีตเตอร์  ไดรเออร์เป่าลมร้อน   เครื่องปิ้งขนมปัง หม้อแปลงไฟฟ้า  มอเตอร์  โซลีนอยด์  อะแดปเตอร์แปลงไฟ  เป็นต้น  


Thermal  fuse  เทอร์โมฟิวส์
                         เทอร์โมฟิวส์ป้องกันอุณหภูมิ/ความร้อนเกิน ( Overheating Protection ) 

fuse  ฟิวส์
                               ฟิวส์ป้องกันกระแสเกิน ( Over Current  Protection )  , Current  Fuse

โครงสร้างของเทอร์โมฟิวส์

ข้างในมีเส้นฟิวส์ ( Fusible Alloy Element )ที่ไวต่ออุณหภูมิ  ส่วนข้างนอกหุ้มปิดด้วยเซรามิค  โลหะ บางรุ่นหุ้มปิดด้วยเคสพลาสติก  มีขาเพื่อต่อไฟใช้งาน   ความชื้นทำให้เทอร์โมฟิวส์ทำงานผิดปกติและไม่ทำงานตัดวงจรตามที่ควรจะเป็น    ดังนั้นจึงห้ามใช้เทอร์โมฟิวส์ในบริเวณที่มีน้ำหรือความชื้น  ตัวเทอร์โมฟิวส์มี   Epoxy Resin เป็นซีลป้องกันความชื้นระดับหนึ่ง

เทอร์โมฟิวส์  Thermal fuse

เทอร์โมฟิวส์   Thermal fuse


คุณสมบัติของเทอร์โมฟิวส์

1. อุณหภูมิขาด ( Tf = Rated Function  Temperature)    เป็นอุณหภูมิที่เทอร์โมฟิวส์ขาดหรือตัดวงจร(เปิดวงจร)   เช่น   Tf= 142C ,  Tf=175C  , Tf=240C , จุดอุณหภูมิที่ขาดนี้เป็นค่า + -  เช่น Tf= 134C จะอยู่ในช่วง 134+4 , 134-3   ความร้อนเกินที่ทำให้มันขาดในรายละเอียดการทดสอบจะแยกทดสอบ กระแสไหลมากทำให้เกิดความร้อนเกินที่เทอร์โมฟิวส์แล้วมันขาด และ ขาดเนื่องจากความร้อนเกินจากบริเวณแวดล้อม   2 ค่านี้มีจุดขาดที่ไม่ห่างกันมาก จากสเปคของผู้ผลิตจะพิมพ์ค่า Tf ที่ตัวเทอร์โมฟิวส์ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่เทอร์โมฟิวส์ขาดเนื่องจากกระแสไหลมากแล้วทำให้เกิดความร้อนเกินจนขาด

2. พิกัดกระแสและแรงดันไฟฟ้า  เช่นที่ตัวเทอร์โมฟิวส์พิมพ์ไว้  10A  250V  หมายถึงนำไปใช้ในงานที่ห้ามเกิน 10A 250V   ฟิวส์จะทำหน้าที่ตัดอุณภูมิที่เกินได้อย่างเที่ยงตรงและปลอดภัย สามารถนำไปใช้ที่งาน 5A  3A ได้เป็นต้น เนื่องจากตอนผลิตเขาทดสอบให้มันตัดอุณหภูมิที่พิกัดกระแส 10A  250A  ถ้าใช้งานเกินสเปคกระแส หรือแรงดันที่ทดสอบ  อาจเกิดการอาร์คและเกิดความไม่ปลอดภัยทางไฟฟ้าได้  


วิธีวัดเทอร์โมฟิวส์

เทอร์โมฟิวส์มีความต้านทานระดับมิลลิโอห์ม ถ้าเทอร์โมฟิวส์ดี  2 ขามันจะต่อถึงกัน สามารถเช็คดีเสียโดยใช้มัลติมิเตอร์ย่านวัด  Rx1 หรือ ย่านวัดความต่อเนื่อง (CONT'y)  ดีเข็มจะขึ้น (พร้อมไฟ LED ของมัลติมิเตอร์สว่าง )  กรณีเสียลักษณะขาดวัดแล้วเข็มไม่ขึ้น

เทอร์โมฟิวส์พัดลม   Thermal fuse
                                                               เทอร์โมฟิวส์พัดลม   2A   250VAC

วัดเทอร์โมฟิวส์พัดลม  Thermal  fuse
                                วัดเทอร์โมฟิวส์พัดลม  ดีเข็มจะขึ้นมากตามรูป     เสียเข็มจะไม่ขึ้นเลย


Thermal fuse
                                                             เทอร์โมฟิวส์หม้อหุงข้าว


วัดเทอร์โมฟิวส์   หม้อหุงข้าว   Thermal fuse
                    วัดเทอร์โมฟิวส์หม้อหุงข้าว    ดีเข็มจะขึ้นมากตามรูป     เสียเข็มจะไม่ขึ้นเลย

Thermal fuse
                                   เทอร์โมฟิวส์  ต้องใช้ค่า Tf  (อุณหภูมิที่มันขาด ) ให้เหมือนตัวเก่า


test   Thermal  fuse
                                 วัดเทอร์โมฟิวส์    ดีเข็มจะขึ้นมากตามรูป     เสียเข็มจะไม่ขึ้นเลย


สำหรับงานซ่อมวัดแล้วเทอร์โมฟิวส์ขาด  การหาเทอร์โมฟิวส์ตัวใหม่มาใช้แทนต้องใช้เทอร์โมฟิวส์มีค่า Tf หรืออุณภูมิขาดเหมือนตัวเก่าหรือให้ใกล้เคียงที่สุด  กรณีจำเป็นมากสามารถใช้อุณภูมิขาดที่น้อยกว่าได้ แต่ไม่สามารถใช้อุณภูมิขาดที่สูงกว่าตัวเก่ามากได้เนื่องจากเมื่อเกิดความร้อนเกินแล้วมันยังไม่ตัดอุปกรณ์จะมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยอุปกรณ์เสียหายและอาจเกิดไฟไหม้ได้


30   เรื่อง    การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   ( เป็น ภาษาอังกฤษ)   >  อ่านที่เว็บนี้



เลือกหัวข้อ   เพื่อ   อ่านต่อในเว็บนี้    
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์      มี    17   ตอน