แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แสดงบทความทั้งหมด

การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตอน วิธีวัดทรานซิสเตอร์ ดีเสีย หาขา หาชนิด NPN PNP ด้วยมิเตอร์เข็ม ( การวัด Transistor )

 ประเด็นการวัดทรานซิสเตอร์พื้นฐานคือวัดดีเสีย  วัดหาขา B-C-E  และ วัดหาชนิด NPN / PNP ก่อนวัดต้องเข้าใจว่าขั้วไฟจากสายวัดของมัลติเตอร์แบบเข็มนั้นจะแตกต่างจากขั้วไฟสายวัดของมัลติเตอร์แบบดิจิตอล ถ้าไม่เข้าใจประเด็นนี้ทำให้งงและจำวิธีวัดไม่ได้  ถ้าเข้าใจจะวัดเป็นและจำได้ตลอดกาล   ให้จำไว้ว่าสายวัดสีแดงของมัลติมิเตอร์แบบเข็มมีไฟขั้ว - จ่ายออกมา และสายวัดสีดำมีไฟขั้ว + จ่ายออกมาที่เป็นแบบนี้เพราะเนื่องจากวงจรข้างในของมัลติมิเตอร์แบบเข็มสายวัดจะต่ออยู่กับแบตเตอรี่ข้างในเมื่อใช้ย่านวัดตัวต้านทานจะมีไฟจ่ายออกมา    ปกติแล้วการวัดทรานซิสเตอร์จะให้ย่านวัด Rx10 มีไฟจ่ายออกมา 3VDC 15mA  , Rx1K  มีไฟจ่ายออกมา 3VDC 15uA และ  Rx10K มีไฟจ่ายออกมา 9VDC  ไฟที่จ่ายออกมาและขั้วไฟจากสายวัดใช้ไบอัสทรานซิสเตอร์และใช้อธิบายว่าทำไมเข็มของมัลติมิเตอร์จึงขึ้นหรือเข็มไม่ขึ้น ( กระแสไหลและกระแสไม่ไหลนั่นเอง )

ขั้นตอนต่อไปนี้จำเป็นสำหรับมือใหม่ต้องวัดเป็นและวัดแบบเข้าใจก่อน  สำหรับคนที่วัดชำนาญแล้วจะวัดแบบสุ่มไปเลย   ทรานซิสเตอร์ที่เสียส่วนใหญ่คือขาดและซ๊อต ถ้าขาดวัดสลับสายสลับขาอย่างไรก็ตามเข็มจะไม่ขึ้นเลย ถ้าซ๊อตวัดสลับสายสลับขาอย่างไรก็ตามเข็มจะขึ้นสุดสเกลได้ค่าความต้านต่ำมาก นี้คือการวัดแบบสุ่มโดยมุ่งไปที่การเสียแบบขาดกับเสียแบบซ๊อต


ການວັດ  Transistor
                                           สายวัดสีแดงจ่ายไฟ -  และสายวัดสีดำจ่ายไฟ  +


มองทรานซิสเตอร์เป็นไดโอด 2 

เพื่อให้เข้าใจการวัดทรานซิสเตอร์ง่ายๆให้มองทรานซิสเตอร์เป็นไดโอด  2 ตัวต่อกัน โดยทรานซิสเตอร์ชนิด NPN = ไดโอด 2 ตัวต่อคอมมอนแอโนด และ  ทรานซิสเตอร์ชนิด PNP  = ไดโอด 2 ตัวต่อคอมมอนแคโทด  จะใช้โมเดลไดโอด 2 ตัวนี้วัดทรานซิสเตอร์จริงในขั้นตอนต่อไป




                        ทรานซิสเตอร์ชนิด NPN = ไดโอด 2 ตัวต่อคอมมอนแอโนด


                          ทรานซิสเตอร์ชนิด PNP  = ไดโอด 2 ตัวต่อคอมมอนแคโทด

Transistor test
                              ใช้ทรานซิสเตอร์เบอร์    2N3904   ในการวัดสาธิต


ขั้นตอนวัดวัดทรานซิสเตอร์

ใช้ทรานซิสเตอร์เบอร์    2N3904   ในการวัดสาธิตเบอร์นี้มีตำเหน่งขาเรียงตามรูปด้านบนกรณีเป็นทรานซิสเตอร์เบอร์อื่นๆก็ให้ค้นหาตำเหน่งขาจาก Datasheet 

1. วัดขา B กับขา E และวัดขา B กับขา C  

ใช้มิเตอร์ย่านวัด Rx10 และปรับซีโรโอห์มก่อนวัดเพื่อให้ผลการวัดถูกต้อง

2. ให้วัดและสลับสายวัด พิจารณาผลดังนี้ถ้าทรานซิสเตอร์ดีเข็มจะขึ้นมาก 1 ครั้งและเข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง

เสียลักษณะขาดวัดแล้วเข็มไม่ขึ้นเลย เสียลักษณะช๊อตวัดแล้วเข็มขึ้นสุดสเกล


ການວັດ  Transistor  test
                        วัดขา B กับขา E ขา B อยู่ตรงกลาง   สายวัดสีดำจ่ายไฟ +  ( ชนิด NPN)
จากโมเดลไดโอด 2 ตัวด้านบนเข็มขึ้นเพราะไดโอดได้รับไบอัสตรง


Transistor test
                       วัดขา B กับขา C  ขา B อยู่ตรงกลาง   สายวัดสีดำจ่ายไฟ +  ( ชนิด NPN)
จากโมเดลไดโอด 2 ตัวด้านบนเข็มขึ้นเพราะไดโอดได้รับไบอัสตรง


Transistor test

 สลับสายวัด   วัดขา B กับขา E ขา B อยู่ตรงกลาง   สายวัดสีดำจ่ายไฟ +  ( ชนิด NPN)
จากโมเดลไดโอด 2 ตัวด้านบนเข็มไม่ขึ้นเพราะไดโอดได้รับไบอัสกลับ



Transistor test

 สลับสายวัด   วัดขา B กับขา C  ขา B อยู่ตรงกลาง   สายวัดสีดำจ่ายไฟ +  ( ชนิด NPN)
จากโมเดลไดโอด 2 ตัวด้านบนเข็มไม่ขึ้นเพราะไดโอดได้รับไบอัสกลับ


3. วัดขา C กับขา E  ให้วัดและสลับสายวัด
ใช้ Rx10K สำหรับทรานซิสเตอร์ชนิดซิลิกอน  และ Rx1K  สำหรับเจอร์เมเนียม
ถ้าทรานซิสเตอร์ดีเข็มขึ้นมาก 1 ครั้ง และเข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง ( หรือขึ้นน้อยก็ได้)
เสียลักษณะขาดวัดแล้วเข็มไม่ขึ้นเลยสักครั้ง  เสียลักษณะช๊อตวัดแล้วเข็มขึ้นสุดสเกลทั้ง 2 ครั้ง


ການວັດ  Transistor  test
                                                        วัดขา C กับขา E เข็มขึ้นมาก 1 ครั้ง  


Transistor test
               สลับสายวัด   วัดขา C กับขา E เข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง  ( อาจขึ้นน้อยชี้ใกล้แถว ∞ )




การวัดหาขา  B-C-E   ของทรานซิสเตอร์
1. การวัดหาขา B    ให้ใช้  R x 10 สุ่มวัดจะเจอครั้งที่เข็มขึ้นมาก 2 ครั้ง  ตรงจุดนี้คือคอมมอนของไดโอด
พิจารณารูปด้านล่างจะทราบทั้งชนิดของทรานซิสเตอร์และตำเหน่งของขา  B




สายวัดสีดำมีขั้วไฟ + ดังนั้นเป็นทรานซิสเตอร์ชนิด NPN  สายสีดำคือขา B 
วัดแล้วเข็มขึ้นเพราะไดโอดได้รับไออัสตรง



สายวัดสีแดงมีขั้วไฟ - ดังนั้นเป็นทรานซิสเตอร์ชนิด PNP สายสีแดงคือขา B  
วัดแล้วเข็มขึ้นเพราะไดโอดได้รับไออัสตรง

2. วัดหาขา C และขา  E
หลังจากได้ขา B เรียบร้อยแล้ว 2 ขาที่เหลือคือขา C และขา E นอกจากทราบขา B แล้วยังทราบชนิดของทรานซิสเตอร์ด้วย
ใช้ย่านวัด  Rx10K วัด หาขา C และขา   E
วัดและสลับสายวัด ให้พิจารณาครั้งที่เข็มมิเตอร์ขึ้นมาก
ถ้าเป็นทรานซิสเตอร์ชนิด NPN  สายวัดสีแดง ( ขั้วไฟ -)  คือขา C  (ข้อสังเกตุให้จำตรง NNคือขา C)
ถ้าเป็นทรานซิสเตอร์ชนิด PNP  สายวัดสีดำ  ( ขั้วไฟ +)  คือขา C (ข้อสังเกตุให้จำตรง PP คือขา C )



ให้สังเกตทรานซิสเตอร์ชนิด NPN  สายวัดสีแดง ( ขั้วไฟ -)  คือขา C  (ข้อสังเกตุให้จำตรง NNคือขา C)

                                                          วัดขา C และ E ครั้งที่เข็มไม่ขึ้น


                                    ทรานซิสเตอร์ชนิด  NPN  ให้สังเกต NN  คือ  - 
                                    ขั้วไฟลบคือสายสีแดง  ดั้งนั้นสายสีแดงเป็นขา C


                                           ทรานซิสเตอร์ชนิด  NPN เบอร์    2N3904





ให้สังเกตทรานซิสเตอร์ชนิด PNP  สายวัดสีดำ  ( ขั้วไฟ +)  คือขา C (ข้อสังเกตุให้จำตรง PP คือขา C )
ดูครั้งที่เข็มขึ้นมาก  พิจารณา  3 รูปด้านล่างนี้

                                                        วัดขา C และ E ครั้งที่เข็มไม่ขึ้น


                                     ทรานซิสเตอร์ชนิด  PNP  ให้สังเกต PP  คือ  + 
                                    ขั้วไฟบวกคือสายสีดำ  ดั้งนั้นสายสีดำเป็นขา C




                                           ทรานซิสเตอร์ชนิด  PNP   เบอร์    2N3906




เลือกหัวข้อต่อไปนี้    เพื่ออ่านต่อ    
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   มี  17 ตอน

การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตอน วิธีวัดเอสซีอาร์ SCR ด้วย มัลติมิเตอร์ดิจิตอล และ มัลติมิเตอร์แบบเข็ม วัด SCR ด้วยการทริกขาเกต

การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   วัดเอสซีอาร์  SCR   мультиметр   मल्टीमीटर   đồng hồ vạn năng


ก่อนวัด SCR  มารู้จักชื่อขาและสัญลักษณ์ของเอสซีอาร์    SCR มี 3 ขาคือขาแอโอด ( Anode ) ใช้สัญลักษณ์ A   ,  ขาแคโทด  ( Kathode)ใช้สัญลักษณ์ K  ขาเกต ( Gate ) ใช้สัญลักษณ์ G  SCR มีหลายเบอร์มากและมีผู้ผลิตหลายแหล่งแต่ละเบอร์อาจมีการเรียงตำเหน่งขาไม่เหมือนกัน เบอร์ที่ใช้วัดสาธิตใช้เบอร์ C106MG  มีการเรียงขา  K  A   G  ตามรูปด้านล่าง

ขา   SCR
                                     ขา   SCR  เบอร์  C106MG    ขา  1 =   K  , 2 =   A   , 3 =    G 




                                                   สัญลักษณ์  เอสซีอาร์  ใช้ประกอบการวัด


วัด   SCR ด้วย มัลติมิเตอร์ดิจิตอล 

ใช้ย่านวัดโอห์มในการวัด SCR ที่ดีจะวัดขึ้นค่าความต้านทาน 1 ครั้งคือครั้งที่วัดขา G และ K     SCR เสียถ้าขาดจะวัดค่าความต้านทานไม่ขึ้นเลยสักครั้ง  ถ้าเสียซ๊อตจะขึ้นค่าความต้านทาน 0 Ohm หรือขึ้นความต้านทานต่ำมากๆ

1)  วัดขา G กับ  K  ตามรูป SCR ดีจะขึ้นค่าความต้านทาน 1 ครั้ง จากนั้นสลับสายวัดจะขึ้น OL  1 ครั้ง

การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  วัดเอสซีอาร์  SCR   ການວັດ   SCR
                                    วัดขา G และ K     SCR ที่ดีจะวัดขึ้นค่าความต้านทาน 1 ครั้ง 

วัด  SCR    test
                                      สลับสายวัดขา G  และ  K     SCR ที่ดีจะขึ้น  OL  1  ครั้ง 


2.  วัดขา A   กับ  K  และสลับสายวัดอีกครั้ง  SCR ที่ดีจะแสดง OL ทั้ง 2  ครั้ง  ถ้าเสียซ๊อตจะขึ้นค่าความต้านทาน 0 Ohm หรือขึ้นความต้านทานต่ำมาก

SCR test

                                         วัดขา A   กับ  K    SCR ที่ดีจะแสดง  OL ทั้ง 2  ครั้ง 


SCR  Test
                                    สลับสายวัด วัดขา A   กับ  K   SCR ที่ดีจะแสดง  OL 



ขั้นตอนวัด SCR ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม
หลักการทำงานเบื้องต้นของ SCR คือเมื่อขา A ได้รับไฟ + และขา K ได้รับไฟ -   เมื่อขาเกตได้รับกระแสทริกบวก  SCR จะนำกระแสจากแอโนดไปแคโทด  ในการวัดใช้ย่านวัด Rx 1

1. วัดขา G กับ K  SCR ที่ดีเข็มจะขึ้นมาก  1 ครั้งและเข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง  กรณีเสียซ๊อตเข็มจะขึ้นมากสุดสเกลทั้ง 2 ครั้ง กรณีเสียขาดจะวัดไม่ขึ้นเลย

การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  SCR Test   мультиметр   मल्टीमीटर   đồng hồ vạn năng
                                             รูปแสดง   วัดขา G กับ K  SCR ที่ดีเข็มจะขึ้นมาก  1 ครั้ง

                               รูปแสดง  สลับสายวัด วัดขา G กับ K  SCR ที่ดีเข็มจะไม่ขึ้น   1 ครั้ง


2. วัดขา A กับขา K  จากนั้นสลับสายวัด วัดอีกครั้ง  SCR ที่ดีเข็มไม่ขึ้นเลยทั้ง 2 ครั้ง  กรณีเสียซ๊อตเข็มจะขึ้นมากสุดสเกลทั้ง 2 ครั้ง

                                        รูปแสดง   วัดขา A  กับขา K    SCR ที่ดีเข็มไม่ขึ้นเลยทั้ง 2 ครั้ง

การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  SCR  test
                        รูปแสดง   สลับสายวัด วัดขา A  กับขา K    SCR ที่ดีเข็มไม่ขึ้นเลยทั้ง 2 ครั้ง



วัด SCR ด้วยการทริกขาเกต
ที่ย่านวัด R x 1  จะมีไฟ 3VDC  150mA จ่ายออกจากสายวัด จากหลักการทำงานเบื้องต้นของ SCR คือเมือขา A ได้รับไฟ + และขา K ได้รับไฟ -   เมื่อขาเกตได้รับกระแสทริกบวก  SCR จะนำกระแสจากแอโนดไปแคโทด จะใช้หลักการนี้นำไปทริกขา G เพื่อทดสอบการนำกระแสของ SCR ว่าสามารถนำกระแสได้ตามปกติหรือไม่  ?   ถ้าสามารถนำกระแสได้ตามปกติคือ SCR ยังดีนั่นคือ สามารถนำกระแสและหยุดนำกระแสได้  ดูรูปตามลำดับต่อไปนี้


   ต่อสายวัดตามรูป ขา K กับสายวัดสีแดง ( สายสีแดงจ่ายไฟ  - )
   ขา  A ต่อสายวัดสีดำ ( สายสีดำจ่ายไฟ  + )



                                        ทริกขา G ด้วยไฟ +   จากขา A   ( สายวัดสีดำ )



мультиметр   मल्टीमीटर   đồng hồ vạn năng
               เมื่อเอาไฟ + ที่ทริกขา G ออก  SCR ยังคงสามารถนำกระแสค้างได้ คือ SCR ดี



SCR  Test
                                        ให้ SCR หยุดนำกระแส โดยแตะขา A และ K เข้าด้วยกัน



            ให้ SCR หยุดนำกระแส โดยแตะขา A และ K เข้าด้วยกัน รูปแสดง SCR หยุดนำกระแส




เลือกหัวข้อต่อไปนี้   เพื่ออ่านต่อ    
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   มี   17  ตอน

วัดไตรแอค เครื่องทําน้ำอุ่น BTA25-600B TG25C60 การวัดไตรแอคเสีย

ก่อนวัดไตรแอค (Triac) ต้องทราบชื่อขา และสัญลักษณ์ของมันก่อน  ไตรแอคมี 3 ขาคือขา A1  A2 และ G ผู้ผลิตไตรแอคบางรายใช้ชื่อขา  T1  T2 และ G  สัญลักษณ์ไตรแอคตามรูปด้านล่าง หลังจากอ่านจบจะวัดไตรแอคเป็น ไตรแอคที่ใช้วัดสาธิตเป็นของใหม่ ไตรแอคใช้กับไฟ AC  ทำหน้าที่เป็นสวิตช์ ON/OFF งานไฟ AC   มีใช้ในวงจรควบคุมมอเตอร์ AC   วงจรหรี่ไฟ ( Dimmer ) วงจรควบคุมฮีตเตอร์ และวงจร AC อื่นๆ รวมทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าเช่น  เครื่องทําน้ำอุ่น  การวัดไตรแอคในบทความนี้ใช้สำหรับวัดไตรแอคขนาดใหญ่ ส่วนไตรแอคขนาดเล็กก็มีวิธีคล้ายกันมากสามารถประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน  ไตรแอคตัวเล็กวัดความต้านทานขา G กับ T1 ได้ค่าความต้านทานใกล้เคียงกับความต้านทานขา G กับ T2  ให้มุ่งไปที่การวัดเสียแบบขาด กับเสียแบบซ๊อตก่อน   วิธีการวัดแบบทริกขา G อยู่ตอนท้ายเป็นวิธีการวัดแบบง่ายๆ 


ไตรแอค เครื่องทําน้ําอุ่น    ການວັດ  Triac

สัญลักษณ์ไตรแอค
                                                      สัญลักษณ์ไตรแอค



ข้อสังเกตการเรียงขาของไตรแอค

ขา  G คือขาที่เล็กที่สุด  วนตามเข็มนาฬิกาจะเป็นขา T1   T2  หรือขา A1  A2   เรียงกันเป็นลำดับแบบนี้ จากนั้นให้เอาขา G หันเข้าหาลำตัว จะได้ตำเหน่งขา T1  T2 ง่ายๆ

ການວັດ  Triac
                        ขา  G คือขาที่เล็กที่สุด  ตำเหน่งขาจาก  Datasheet  TG25C60


                           ขา  G คือขาที่เล็กที่สุด  ตำเหน่งขาจาก  Datasheet  BTA25-600B  


ขั้นตอนการวัดไตรแอคเครื่องทําน้ําอุ่น  BTA25-600B    TG25C60

1. มองหาขา G ก่อน ขา G คือขาที่เล็กที่สุด 

2. ปรับสวิตช์เลือกย่านวัดไปที่ ย่านวัดโอห์ม

3. วัดขา G กับขา T1 ( A1)  วัดขา G กับขา T2 (A2)

ไตรแอคดี   

วัดขา G กับขา T1 ( A1) ได้ค่าความต้านทานต่ำหน่วยโอห์ม  

วัดขา G กับขา T2 ( A2) ได้ค่าความต้านทานสูงมากหน่วยเมกะโอห์ม 

ข้อสังเกตเพิ่มและหลักการจำง่ายๆ  ขา T1 ( A1) ได้ค่าความต้านทานต่ำ   T2 ( A2)  ได้ค่าความต้านทานสูงมาก

ไตรแอคเสียซ๊อตได้ค่าความทาน 0 โอห์มหรือต่ำมากๆ  ไตรแอคเสียขาดหน้าจอแสดง OL ทุกครั้ง


ການວັດ  Triac   मल्टीमीटर  мультиметр
                วัดขา G กับขา T1 ( A1) ได้ค่าความต้านทานต่ำหน่วยโอห์ม  สลับสายก็ได้ค่าใกล้เคียงกัน


test   triac  with   multimeter
            วัดขา G กับขา T2 ( A2) ได้ค่าความต้านทานสูงหน่วยเมกะโอห์ม สลับสายก็ได้ค่าใกล้เคียงกัน


4. วัดขา   T1  ( A1) กับขา T2 (A2)  สลับสายแล้ววัดอีกครั้งไตรแอคดีจะขึ้นค่าความต้านทานสูงมากหน่วยเมกะโอห์ม

เสียลักษณะขาดจะแสดง  OL ทุกครั้ง เสียลักษณะช๊อตจะได้ค่าความต้านทานต่ำมากๆ

test   triac  with   multimeter
                         วัดขา   T1  ( A1) กับขา T2 (A2) ดี วัดได้ค่าความต้านทานสูงเมกะโอห์ม


test   triac  with   multimeter
       สลับสายวัดขา   T1  ( A1) กับขา T2 (A2) ดี วัดได้ค่าความต้านทานสูงเมกะโอห์ม ค่าใกล้เคียงกัน



กรณีใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็มวัด

1.  วัดขา G  กับขา T1 ( A1) และ   วัดขา G  กับขา  T2 ( A2)

ให้ใช้ Rx1 วัดขา G  กับขา T1 ( A1) จะวัดขึ้นได้ค่าความต้านทานต่ำสลับสายก็ได้ค่าความต้านทานใกล้เคียงกัน   วัดขา G  กับขา  T2 ( A2)  เข็มจะไม่ขึ้นเลยสลับสายวัดเข็มก็ไม่ขึ้น   

เสียแบบขาด : วัดแล้วเข็มไม่ขึ้นเลยสักครั้ง  เสียแบบช๊อต :  วัดได้ค่าความต้านทาน 0 โอห์ม

2.  วัดขา  T1 ( A1)  กับ  T2 ( A2)

ใช้  Rx10K   วัดขา  T1 ( A1)  กับ  T2 ( A2)  จะวัดไม่ขึ้นเลย สลับสายวัดเข็มก็ไม่ขึ้น 

เสียแบบช๊อต :  วัดได้ค่าความต้านทาน 0 โอห์ม  (  หรือค่าโอห์มต่ำมากๆ )

เสียแบบรั่ว : ขา T1 กับ T2  เนื่องจากค่าความต้านทานสูงมากระดับเมกะโอห์ม ถ้าเข็มขึ้นคือรั่ว


test   triac  with   multimeter

        วัดขา G  กับขา T1 ( A1) ได้ค่าความต้านทานต่ำสลับสายวัดก็ได้ค่าความต้านทานใกล้เคียงกัน



วัดไตรแอค
                                  วัดขา G  กับขา T2 ( A2)  เข็มจะไม่ขึ้นเลยสลับสายวัดเข็มก็ไม่ขึ้น


วัดไตรแอค เครื่องทําน้ำอุ่นด้วยการทริกขา G

ใช้ย่านวัด  R x1  ต่อสายวัดกับขาไตรแอคตามรูปจะสสับสายวัดก็ได้เพราะไตรแอคสามารถนำกระแสได้ 2 ทางและจะใช้ไฟ + หรือไฟ - ทริกก็ได้  จากนั้นนำไฟจากขา  T2 ไปทริกขา G   ( ต้องไฟจากขา T2 เท่านั้น )  เมื่อนำไฟที่ทริกขา G ออก ไตรแอคยังคงนำกระแสได้และเข็มจะขึ้นค้างตามรูป  ถ้าไตรแอคดีเข็มต้องขึ้นค้าง

วัดไตรแอค   ການວັດ  Triac
                   ใช้  Rx1 ต่อสายวัดเข้ากับ TRIAC สลับสายก็ได้ จากนั้นนำไฟจากขา T2 ทริกขา G


วัดไตรแอค
                                      เมื่อนำไฟที่ทริกขา G ออก เข็มยังขึ้นค้างได้คือไตรแอคดี




 
เลือกหัวข้อต่อไปนี้    เพื่ออ่านต่อ    
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   มี   17  ตอน

อ่านต่อ  อีก  25 เรื่อง  เลื่อนหน้า >  ด้านล่างสุดของมือ หรือ  เลือกเรื่องจากแถบด้านข้าง

การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตอน วิธี วัดทรานซิสเตอร์จานบิน เช่น เบอร์ 2N3055 ตัวถัง TO-3 จานบิน ( ການວັດ Transistor )

ทรานซิสเตอร์จานบิน  เช่น เบอร์  2N3055 ชนิด NPN  ,   MJ2955 ชนิด PNP , 2SD868 ชนิด NPN  เป็นต้น ตัวถังจานบินมีชื่อเรียกตามมาตรฐานว่า  TO-3   ทรานซิสเตอร์ตัวถังจานบินเป็นทรานซิสเตอร์ขนาดใหญ่หรือพาวเวอร์ทรานซิสเตอร์  ( Power Transistor ) ทนกระแสได้ตั้งแต่หลักแอมป์จนถึงสิบแอมป์ขึ้นแล้วแต่เบอร์  ทรานซิสเตอร์จานบินมักจะเสียลักษณะขาดและซ๊อต ดังการวัดดีเสียจึงมุ่งไปที่การเช็คขาดกับซ๊อตไปเลย  การวัดอาจประยุกต์หลายวิธีเช่นวัดเหมือนวัดทรานซิสเตอร์ทั่วไป  และวัดเหมือนวัดไดโอดขาดไดโอดซ๊อตทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กมีกระแส Ib  Ic ระดับ uA mA ส่วนทรานซิสเตอร์ตัวใหญ่อย่างทรานซิสเตอร์จานบินทำงานที่ระดับกระแส Ib หลายแอมป์ กระแส Ic หลักสิบแอมป์ขึ้น  ทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กสามารถใช้มัลติมิเตอร์วัดได้ดีเนื่องจากไฟที่จ่ายออกสายวัดมิเตอร์  ( 3VDC  15mA  1.5mA  150uA ) มีปริมาณเพียงพอที่จะไบอัสทรานซิสเตอร์เบื้องต้นเพื่อเช็คดีเสียได้ แต่ทรานซิสเตอร์ตัวใหญ่ไฟจากสายวัดมิเตอร์ไม่เพียงพอที่จะไบอัสเบื้องต้นให้มันทำงานได้ดังนั้นทรานซิสเตอร์ตัวใหญ่จึงมุ่งไปที่การวัดเสียแบบขาดและเสียแบบซ๊อต


ทรานซิสเตอร์จานบิน TO-3   ການວັດ   TO-3 transistor
                                      ทรานซิสเตอร์จานบิน  หรือ  ตัวถัง  TO-3  


ขั้นตอนวัดวัดทรานซิสเตอร์จานบิน

1.  หาตำเหน่งของทรานซิสเตอร์จาก Datasheet เช่นเบอร์   2N3055 มีตำเหน่งขาตามรูป    ถ้าวัดชำนาญแล้วอาจใช้วิธีวัดแบบสุ่มไปเลยก็ได้

ทรานซิสเตอร์    2N3055  TO-3   transistor
                                   ขาทรานซิสเตอร์เบอร์  2N3055  ที่ใช้วัดสาธิต


2. วัดขา B กับขา E  และวัดขา B  กับขา C สสับสายและวัดอีกครั้งตามรูป ใช้ย่านวัดไดโอดในการวัด ถ้ารอยต่อดีจะแสดงแรงดัน 0.5-0.7V  1 ครั้งและแสดง OL  1 ครั้ง

ການວັດ  Transistor  Test
                       วัดขา B กับขา E ทรานซิสเตอร์ดีจะแสดงแรงดัน 0.5-0.7V  1  ครั้ง  เสียแสดง 000V


TO-3 transistor  test
                 วัดขา B กับขา C ทรานซิสเตอร์ดีจะแสดงแรงดัน 0.5-0.7V  1  ครั้ง  เสียแสดง 000V


TO-3 transistor  test
                                 สลับสาย วัดขา B กับขา E ทรานซิสเตอร์ดีจะแสดง  OL   1 ครั้ง


ການວັດ  Transistor  test
                                 สลับสาย วัดขา B กับขา C  ทรานซิสเตอร์ดีจะแสดง  OL   1 ครั้ง

3. วัด ขา C กับ ขา E  เสียแบบซ๊อต    ใช้ย่านวัดโอห์มในการวัด ถ้าดีจะขึ้น OL ทั้ง 2 ครั้ง ถ้าเสียซ๊อตจะขึ้น O Ohm  สามารถใช้ย่านวัดไดโอดวัดได้เช่นกัน ถ้าดีจะขึ้น OL ทั้ง 2 ครั้ง ถ้าเสียจะขึ้น 000V

TO-3 transistor  test
                             วัด ขา C กับ ขา E  เสียแบบซ๊อต  ดีจะขึ้น OL    เสียขึ้น 0 โอห์ม


วัดทรานซิสเตอร์จานบิน   transistor  test
                               สลับสาย   วัด ขา C กับ ขา E  เสียแบบซ๊อต  ดีจะขึ้น OL     เสียขึ้น 0 โอห์ม


สำหรับการวัดที่เน้นเช็คดีเสียแบบรวดเร็วให้มุ่งไปที่การวัดเสียลักษณะซ๊อตและเสียลักษณะขาดไปเลย โดยใช้ย่านวัดโอห์มสุ่มวัด  เคสคือขา C   และ  2 ขาที่โผล่คือขา B และขา E   ถ้าดีมีค่าความต้านทานขึ้น 1 ครั้ง สลับสายวัดแสดง OL  1 ครั้ง


TO-3 transistor  test
        ใช้ย่านวัดโอห์มสุ่มวัด   ขา B และขา E   ดีมีค่าความต้านทานขึ้น 1 ครั้ง สลับสายวัดแสดง OL


TO-3 transistor  test
         ใช้ย่านวัดโอห์มสุ่มวัด   ขา B และขา C   ดีมีค่าความต้านทานขึ้น 1 ครั้ง สลับสายวัดแสดง OL



TO-3   transistor  test
                                     สลับสายวัด  วัดขา B กับขา  E  ( สีดำขา B สีแดงขา E )


TO-3 transistor  test
                                สลับสายวัด  วัดขา B กับขา  E  ( สีดำขา B  สีแดงขา C ) เคสคือขา C




เลือกหัวข้อต่อไปนี้   เพื่ออ่านต่อ    
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์      มี    17   ตอน

อ่านต่อ  อีก  25 เรื่อง  เลื่อนหน้า >  ด้านล่างสุดของมือถือ   หรือ  เลือกเรื่องจากแถบด้านข้าง