แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ R Fuse อาร์ฟิวส์ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ R Fuse อาร์ฟิวส์ แสดงบทความทั้งหมด

R Fuse อาร์ฟิวส์ ตัวต้านทานฟิวส์

R  Fuse  หรือ  อาร์ฟิวส์  มีชื่อเรียกเฉพาะว่า Fusible Resistor  และ  Safety  Resistor พบมีใช้ในวงจรแหล่งจ่ายไฟและวงจรควบคุม  หน้าที่ในวงจรหรือคุณสมบัติของอาร์ฟิวส์มี 2 อย่างคือ     1)  ทำหน้าที่เป็นตัวต้านทานเพื่อจำกัดหรือลดกระแสพุ่ง กระแสเสิร์จ   2)  ทำหน้าที่เป็นฟิวส์ เมื่อมีปริมาณพลังงานความร้อนหรือวัตต์ที่ผ่านตัวมันสูงกว่าสเปคที่ออกแบบไว้มันจะขาดเพื่อตัดหรือเปิดวงจร

ข้อแตกต่างจากฟิวส์  ฟิวส์มีความเร็วในการตัดกระแสที่รวดเร็วกว่ามีกราฟการทำงานที่แตกต่างกัน และฟิวส์มีมาตรฐานความปลอดภัยที่เข้มงวดกว่า ขณะที่อาร์ฟิวส์  ( R  Fuse ) จะสะสมความร้อนและทนได้ตามกำลังวัตต์ของมันโดยอาร์ฟิวส์จะมีความต้านทานระดับโอห์ม ( ฟิวส์มีความต้านทานระดับมิลลิโอห์ม )   จุดประสงค์ของการใช้อาร์ฟิวส์คือไว้ลดกระแสพุ่งมันจะทนกระแสพุ่งได้ระดับหนึ่งตามสเปคถ้าปริมาณพลังงานเกินกว่าที่ตัวมันทนได้มันก็จะตัดหรือทำหน้าที่เป็น  Fuse  การทำงานในลักษณะ 2 หน้าที่นี้ฟิวส์จริงๆไม่สามารถทำได้   ส่วนฟิวส์จะมีความต้านทานต่ำมากๆระดับมิลลิโอห์มจึงมีพลังงานสูญเสียน้อยมาก มีความร้อนสะสมเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นมากๆ ฟิวส์สามารถเปิดวงจรได้อย่างรวดเร็วกว่าและปลอดภัยกว่าอาร์ฟิวส์     ฟิวส์มีคุณสมบัติที่โดดเด่นมีมาตรฐานการผลิตที่เน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นหลักซึ่งเข้มงวดกว่าอาร์ฟิวส์และ  อุปกรณ์ 2 ชนิดนี้มีมาตรฐานการผลิตที่แตกต่างกัน   ปกติแล้วในการตัดกระแสเกิน ( Over Current Protection  ) อย่างปลอดภัยจะใช้ฟิวส์และการลดกระแสพุ่งจะใช้  NTC  เทอร์มิสเตอร์ ( Thermistor)  ผู้ออกแบบวงจรเลือก ใช้ R ฟิวส์นกรณีที่วัตต์ไม่สูงมากโดยใช้คุณสมบัติของ R Fuse ทำ 2 หน้าที่โดยใช้เพียงอุปกรณ์ 1 ตัวตามที่ได้อธิบายแล้ว   กรณีต้องการตัดกระแสสูงมากจะใช้ฟิวส์ทำหน้าที่ตัดกระแสโดยเฉพาะเนื่องจากปลอดภัยกว่า  และใช้   NTC เพื่อลดกระแสพุ่งโดยเฉพาะเนื่องจาก NTC มีค่าความต้านทานลดลงตามอุณภูมิ  .... สรุป ฟิวส์และ R Fuse  มีกราฟการทำงานที่แตกต่างกัน  การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การออกแบบวงจรและระดับมาตรฐานความปลอดภัยที่ต้องการ 


ลักษณะ   อาร์ฟิวส์   ( R  Fuse )

ลักษณะภายนอกจะแตกต่างจากตัวต้านทานชนิดคาร์บอนฟิลม์และตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์มชัดเจน  ค่าที่นิยมใช้จะมีค่าความต้านทานไม่สูงคือใช้ค่าระดับโอห์ม วัสดุที่ใช้ผลิตอาร์ฟิวส์อ้างตามโรงงานบอกว่ามี 2  แบบคือแบบ Metal Film  และ  แบบ Wirewound  โดยแบบ  Metal Film ใช้ในกรณีวงจรวัตต์ต่ำ และแบบ Wirewound ใช้ในกรณีวงจรวัตต์ที่สูงกว่า    จากการสำรวจข้อมูลพบว่าอาร์ฟิวส์มีทั้งแบบใช้แถบสีและแบบใช้ตัวเลขในการระบุค่าความต้านทาน

R  Fuse  อาร์ฟิวส์   Fusible resistor
                          

R  Fuse  อาร์ฟิวส์
                                  รูป  อาร์ฟิวส์  แบบ Metal Film ใช้แถบสีในการระบุค่าความต้านทาน


                                รูป  อาร์ฟิวส์  แบบไวร์วาวด์  ใช้ตัวเลขและตัวอักษรในการระบุค่าความต้านทาน


ข้อสังเกต   ลักษณะภายนอกของอาร์ฟิวส์จะแตกต่างจากตัวต้านทานชนิดคาร์บอนฟิลม์และตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์มชัดเจน บางครั้งก็แยกไม่ออกจากตัวต้านทานชนิดไวร์วาวด์เนื่องจากตัวต้านทานไวร์วาวด์ที่มีคุณสมบัติเป็น  R Fuse ก็มี  คุณสมบัติเป็นฟิวส์หรือ Fusible ใช้มัลติมิเตอร์วัดไม่ได้ ต้องใช้การสังเกตลักษณะภายนอกและเช็คกับ Datasheet ของตัวต้านทาน  อาร์ฟิวส์มีหลายแบบ เพื่อจะได้รู้จัก R Fuse แบบต่างๆไว้  สำรวจดูรูปอาร์ฟิวส์เพิ่มให้พิมพ์คำค้นใน  Google ว่า  Fusible  Resistor  จะแสดงรูปจำนวนมากจากโรงงานผลิตและสามารถใช้เปรียบเทียบว่าตัวต้านทานที่มีอยู่เป็นอาร์ฟิวส์หรือไม่


เทอร์โมฟิวส์พัดลม เทอร์โมฟิวส์หม้อหุงข้าว เทอร์โมฟิวส์กระติกน้ำร้อน วัด Thermal fuse ด้วยมัลติมิเตอร์

 https://www.xn--2000-3eo9eb7oc5f0hd.com/2020/11/thermal-fuse.html

Thermal fuse



เลือกหัวข้อต่อไปนี้   เพื่ออ่านต่อ    
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์      มี    17   ตอน