อาการเสียวงจรหลอดไฟให้แสงสว่างตามบ้าน แนวทางแก้ หลอดไฟติดๆ ดับๆ หลอดไฟกระพริบ หลอดไฟไม่ติด หลอดไฟไม่สว่าง บัลลาสต์มีเสียงคราง

หลอดไฟที่นิยมใช้ตามบ้านคือหลอดฟลูออเรสเซนต์เนื่องจากประหยัดไฟและราคาไม่แพงมาก ขณะเดียวกันให้ประสิทธิภาพแสงสว่างที่ดี   วงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์ประกอบด้วยส่วนหลักๆคือ หลอดฟลูออเรสเซนต์  สตาร์ทเตอร์  และ  บัลลาสต์  เวลาวงจรหลอดไฟเสียเราก็ต้องมาเช็คส่วนประกอบที่สำคัญเหล่านี้   อาการเสียของวงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์คือ  หลอดไฟติดๆ ดับๆ  หรือ หลอดไฟกระพริบ   หลอดไฟไม่ติด  หลอดไฟไม่สว่าง  หลอดสว่างแล้วดับ  หลอดมีแสงสลัว   บัลลาสต์มีเสียงคราง  เป็นต้น  ก่อนเช็คหรือซ่อมมารู้จักวงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์ก่อน เพื่อใช้วงจรนี้ไล่เช็คอาการเสียต่างๆเป็นลำดับขั้นตอน


หลอดฟลูออเรสเซนต์  ຫລອດໄຟ
วงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์  ຫລອດໄຟ   หลอดฟลูออเรสเซนต์
                              วงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์  เป็นวงจรหลอดไฟที่นิยมใช้ตามบ้าน



อาการเสียวงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์ให้แสงสว่างตามบ้าน  และ แนวทางแก้

1)     หลอดไฟไม่ติด  หรือ  หลอดไฟไม่สว่าง  
อาการ :   เปิดสวิตช์แล้วหลอดไฟไม่สว่าง  สาเหตุที่เป็นไปได้มีหลายอย่าง ให้ไล่เช็คเป็นลำดับดังนี้ ให้เช็คอะไร ?   ก็เช็คอุปกรณ์หลักๆที่อยู่ในวงจรหลอดไฟตามรูปด้านบน
-  ไฟมาหรือยัง  ?   ไล่เช็คเส้นทางของไฟ  ให้เช็คไฟที่บัลลาสต์ว่ามีไฟมาหรือยัง   สายไฟอาจขาด จุดต่อต่างๆขั้วหลอดอาจหลวม   ไล่ไฟกลับไฟยังสวิตช์เปิดปิดมีหลายครั้งหน้าสัมผัสของสวิตช์เสีย

หลอดฟลูออเรสเซนต์

หลอดฟลูออเรสเซนต์
                                 ใช้ไขควงเช็คไฟวัดไฟที่ขั้วต่อบัลลาสต์ว่ามีไฟมาหรือยัง   ?


-  หลอดไฟขาดหรือไม่   ?    วิธีเช็คหลอดไฟว่าขาดหรือไม่ ใช้มัลติมิเตอร์ตั้งย่านวัดโอห์มวัดไส้หลอดถ้าหลอดยังดีต้องมีค่าความต้านทานขึ้นตามรูป  ถ้าหลอดขาดจะไม่ขึ้นค่าความต้านทานเลย  อีกวิธีให้นำหลอดไฟที่สงสัยว่าจะเสียไปต่อกับวงจรหลอดไฟจุดอื่นๆในบ้านที่สว่างปกติ ถ้าต่อทดสอบกับจุดอื่นแล้วหลอดไฟไม่สว่างแสดงว่าหลอดไฟเสียแล้ว ถ้าหลอดไฟยังสว่างแสดงว่าหลอดไฟยังดีอยู่  ให้ไล่เช็คอุปกรณ์ตัวอื่นๆต่อ

อาการเสียวงจรหลอดไฟ   ຫລອດໄຟ   หลอดไฟ
                                                         เช็คไส้หลอด ถ้าไม่ขาดจะมีค่าความต้านทาน


-  บัลลาสต์ขาดหรือไม่  ?   วิธีเช็คบัลลาสต์ สามารถเช็คได้ตอนมีไฟ และเช็คตอนไม่มีไฟ    วิธีเช็คบัลลาสต์ตอนมีไฟคือหลังจากเปิดสวิตช์แล้วต้องมีไฟที่ขั้วบัลลาสต์ทั้งเส้นไฟเข้าและเส้นไฟออก ลักษณะบัลลาสต์ก็เหมือนขดลวดไฟเข้ามาแล้วต้องผ่านออกไปยังหลอดไฟได้   ถ้าไม่มีไฟขั้วไฟออกแสดงว่าขดลวดขาด    วิธีเช็คบัลลาสต์ตอนไม่มีไฟคือให้ปิดสวิตช์และถอดสายไฟออกจากบัลลาสต์ 1 เส้นแล้ววัดค่าความต้านทานของขดลวดถ้าขดลวดไม่ขาดจะขึ้นค่าความต้านทาน   อีกอาการเสียของบัลลาสต์คือขดลวดช๊อตกันถ้าใช้มัลติมิตเตอร์วัดแล้วจะได้ค่าความต้านทานต่ำมาก ปกติแล้วถ้าบัลลาสต์ดีจะมีค่าความต้านทาน 30-100 โอห์มขึ้นอยู่กับขนาดวัตต์ของบัลลาสต์

                                                 วิธีเช็คบัลลาสต์ เช็คตอนมีไฟใช้ไขควงวัดไฟ

อาการเสียวงจรหลอดไฟ   วิธีเช็คบัลลาสต์

               วิธีเช็คบัลลาสต์ตอนไม่มีไฟ คือปิดสวิตช์ปลดสายออก 1 เส้น  แล้ววัดค่าความต้านทาน
               บัลลาสต์ดีจะมีค่าความต้านทาน 30-100 โอห์ม   ขึ้นอยู่กับขนาดวัตต์ของบัลลาสต์
               ขาด- วัดแล้วไม่ขึ้นค่าความต้านทานเลย   ช๊อต-วัดแล้วได้ค่าความต้านทานต่ำมาก


-  สตาร์ทเตอร์เสียหรือไม่   ?   วิธีเช็คสตาร์ทเตอร์คือให้นำสตาร์ทเตอร์ตัวที่สงสัยว่าจะเสียไปทดสอบกับวงจรหลอดไฟจุดอื่นๆในบ้านที่ยังสว่างปกติ  ถ้าต่อทดสอบกับจุดอื่นแล้วหลอดไฟสว่างปกติแสดงว่าสตาร์ทเตอร์ไม่เสีย  

วิธีเช็คสตาร์ทเตอร์
              นำสตาร์ทเตอร์ตัวที่สงสัยว่าจะเสียไปทดสอบกับวงจรหลอดไฟจุดอื่นๆที่ยังสว่างปกติ


2)     หลอดไฟกระพริบ   หลอดไฟดับๆติดๆ 
สาเหตุที่เป็นไปได้  :   
-   สตาร์ทเตอร์เสีย  ?   บัลลาสต์เสีย   ?   ให้เช็คตามวิธีการในข้อ 1) ด้านบน
-   ไฟตกหรือไม่   ?  ให้ใช้มัลติมิเตอร์เช็ควัดแรงดันไฟฟ้าว่าได้ประมาณ  220VAC ไหม   ?
-   หลอดไฟเสื่อมสภาพใกล้เสีย   สังเกตที่บริเวณใกล้ขั้วหลวดจะมีสีดำชัดเจน  ให้นำหลอดไฟตัวที่สงสัยว่าจะเสียไปทดสอบที่วงจรหลอดไฟจุดอื่นๆ  
-   ขั้วหลอดเสีย   กระแสไฟฟ้าไหลไม่สะดวก ให้ลองทำความสะอาดแล้วปรับให้มันยึดขั้วหลอดไฟให้แน่น

3)   หลอดไฟมีแสงสลัว   มีคราบฝุ่นต่างๆติดที่ตัวหลอดไฟ    ให้ทำความสะอาดหลอดไฟ
4)   บัลลาสต์มีเสียงคราง 
สาเหตุที่เป็นไปได้  :  
-  ยึดบัลลาสต์ไม่แน่น ให้ขันน๊อตให้แน่น
- ใช้ขนาดวัตต์ของบัลลาสต์ไม่เหมาะกับขนาดวัตต์ของหลอดไฟ   ให้เลือกใช้ให้เหมาะสม
-  บัลลาสต์เสื่อมสภาพ ใช้ไปนานๆแกนเหล็กข้างในมีคุณสมบัติเปลี่ยนไป   ให้เปลี่ยนบัลลาสต์



เลือกหัวข้อ    เพื่อ   อ่านต่อ    
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   มี   17  ตอน

สอนใช้งาน Multi-function Tester เครื่องวัด LCR TC1 วัด R L C ไดโอด ซีเนอร์ ทรานซิสเตอร์ SCR มอสเฟต ไตรแอค และอื่นๆ

เครื่องวัด  LCR  TC1  วัด R L C  ไดโอด ซีเนอร์  ทรานซิสเตอร์  SCR มอสเฟต ไตรแอค

 

Electronic  Components   Tester

แนะนำการใช้งาน  Multi-function Tester  เครื่องนี้สามารถวัดอุปกรณ์ได้หลายอย่างมากสมกับคำว่า Multi-Function  Tester   จุดเด่นที่สำคัญคือใช้งานง่าย.....แต่ก่อนใช้งานต้องรู้วิธีการวัดก่อนรวมถึงรู้ความสามารถและข้อจำกัดของเครื่องวัดนี้     อ่านให้ครบทุกข้อ 1-5 จนจบเพื่อจะได้ข้อมูลครบถ้วนและไม่พลาดข้อมูลที่สำคัญแล้วจะเข้าใจการใช้งานมากยิ่งขึ้น   เครื่องนี้สามารถวัดอุปกรณ์พื้นฐานในแผงวงจรครอบคลุมอุปกรณ์ส่วนมากที่นิยมใช้งาน   เช่น ตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ  ตัวเหนี่ยวนำ  ไดโอด ซีเนอร์ไดโอด  LED  เอสซีอาร์  ไตรแอค ไอจีบีที  มอสเฟต  เป็นต้น เป็นเครื่องวัดที่ช่างควรมีไว้ประจำโต๊ะซ่อมนอกจากมัลติมิเตอร์แบบเข็มและมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล ประเด็นสำคัญที่จำเป็นต้องทราบมี 5 ข้อดังนี้

1.  Socket และ  การเสียบขาอุปกรณ์

2.  การตีความหมายผลการวัด ดี / เสีย

3.  ข้อจำกัดในการวัดอุปกรณ์ของเครื่อง Multi-function Tester 

4.  ขอบเขตที่ควรใช้งาน

5.  การคาลิเบรต หรือ การทดสอบเครื่อง (  Self Test )


เครื่องวัด  LCR  TC1  วัด R L C  ไดโอด ซีเนอร์  ทรานซิสเตอร์  SCR มอสเฟต ไตรแอค
   รูปแรก   แบบใช้แบต 9V ราคาถูกกว่าแต่ต้องประกอบเครื่องเอง  
   รูปที่ 2   Multi-Function Tester  TC1 แบบชาร์ตไฟได้เหมือนชาร์จโทรศัพท์เลย น่าใช้มากกว่าแบบแรก
   แนะนำรุ่น TC1 แบบชาร์จได้เนื่องจากมีความสามารถในการวัดมากกว่า


                         สายวัดเสริมที่แถมมากับ  Multi-Function Tester   TC1  แบบชาร์ตไฟได้


                            แบบใช้แบต 9V สามารถหาปากคีบลักษณะคล้ายตามรูปนี้มาทำสายวัด


1.  Socket  และ การเสียบขาอุปกรณ์   แบบใช้ถ่าน 9V กับแบบชาร์ตไฟได้ มีตำเหน่งช่องเสียบที่แตกต่างกันโดยแบบใช้ถ่าน 9V จะระบุตำเหน่งช่องเป็น  12311111  โดยตรงที่ชื่อตำเหน่ง   11111 จะต่อถึงกันหมด   ขณะที่แบบชาร์ตไฟได้จะระบุชื่อตำเหน่งช่อง  KAA1233  ช่องที่มีชื่อตำเหน่งเหมือนกันจะต่อถึงกัน

การเสียบขาอุปกรณ์  

อุปกรณ์ที่มี  2 ขา------------>  ให้เสียบช่อง 1 กับ 2 ,   2 กับ 3 ,  1 กับ 3  คู่ช่องใดก็ได้ตามที่เสียบได้สะดวก  

อุปกรณ์ที่มี  3 ขา------------>  ให้เสียบช่อง  123

การวัดซีเนอร์ไดโอดสำหรับรุ่น  TC1  ช่อง A ให้เสียบขาแอโนด ช่อง K ให้เสียบขาคาโทดตามสเปคบอกว่ารุ่น TC1 สามารถวัดแรงดันซีเนอร์ไดโอด  0.01-30V

แถบวัดอุปกรณ์ SMD ใช้วัดอุปกรณ์ SMD ที่ไม่รู้จักว่าเป็นตัวอะไร ?   วัดเพื่อให้รู้ว่าเป็นทรานซิสเตอร์  ไดโอด ตัวต้านทาน SMD  คาปาซิเตอร์ SMD  หรืออุปกรณ์ๆ  และวัดเพื่อให้รู้ว่าดีหรือเสีย    


เครื่องวัด  LCR  TC1  วัด R L C  ไดโอด ซีเนอร์  ทรานซิสเตอร์  SCR มอสเฟต ไตรแอค
                                                   ชื่อตำเหน่ง 1  จะต่อถึงกันหมด

           ตำเหน่งวัดอุปกรณ์ SMD ที่ไม่รู้จักวัดว่าเป็นตัวอะไร   และ วัดเพื่อให้รู้ว่าดีหรือเสีย


เครื่องวัด  LCR  TC1  วัด R L C  ไดโอด ซีเนอร์  ทรานซิสเตอร์  SCR มอสเฟต ไตรแอค
             ช่อง KAA  ใช้วัดซีเนอร์ไดโอด  ช่อง A ให้เสียบขาแอโนด  ช่อง K ให้เสียบขาคาโทด


2. การตีความหมายผลการวัด ดี/เสีย   หลักการก็คือต้องรู้จักชื่ออุปกรณ์ และสเปคที่สำคัญของมัน ถ้าอุปกรณ์ปกติหน้าจอจะแสดงชื่ออุปกรณ์พร้อมสเปคที่สำคัญ หรือบางกรณีบอกกลุ่มของอุปกรณ์แทนเช่นวัดซีเนอร์ไดโอด วัด LED  เครื่องวัดจะบอกว่าเป็นไดโอด  ให้อ่านข้อ 3เพิ่มเรื่อง ข้อจำกัดในการวัดอุปกรณ์ของเครื่อง Multi-Function Tester    ตัวอย่างเบอร์อุปกรณ์สามารถบอกชนิดอุปกรณ์ได้

2SAXXX    เป็นทรานซิสเตอร์ชนิด  PNP   ใช้งานย่านความถี่สูง

2SBXXX    เป็นทรานซิสเตอร์ชนิด  PNP   ใช้งานย่านความถี่ต่ำ

2SCXXX    เป็นทรานซิสเตอร์ชนิด  NPN   ใช้งานย่านความถี่สูง

2SDXXX    เป็นทรานซิสเตอร์ชนิด  NPN   ใช้งานย่านความถี่ต่ำ

2SJXXX     เป็น  FET   P   แชนแนล

2SKXXX    เป็น  FET   N  แชนแนล

2NXXX      เป็นทรานซิสเตอร์  

IRFXXX     เป็นมอสเฟต

MJEXXX    เป็นทรานซิสเตอร์จานบิน   ( TO-3 )

BTAXXX    เป็นไตรแอค

TMGXXX   เป็นไตรแอค


2.1   วัดตัวต้านทาน  ถ้าตัวต้านทานดีจะแสดงชื่อเป็น Resistor   พร้อมค่าความต้านทาน

Test   resistor  with  multimeter
                                                       ตัวต้านทาน  22 โอห์ม วัดได้   22  โอห์ม

Test   resistor   with   multimeter
                      ตัวต้านทาน  33 โอห์ม วัดได้   33.4  โอห์ม  ถือว่า R  สภาพดี  เพราะได้ค่าใกล้เคียง

Test  resistor  with  multimeter
                         ตัวต้านทาน  82  โอห์ม วัดได้   80.5   โอห์ม  ถือว่า R  สภาพดี เพราะได้ค่าใกล้เคียง

วัดตัวต้านทาน  Test  resistor  with  multimeter
                  ตัวต้านทาน  1000  โอห์ม วัดได้  986.0   โอห์ม  ถือว่า R  สภาพดี เพราะได้ค่าใกล้เคียง


วัดตัวต้านทาน
                                วัด VR ลองหมุนถ้าค่าเปลี่ยนตามการหมุนคือดี เอา 2 ค่ารวมกัน = 2K Ohm

2.2   วัดตัวเก็บประจุ ถ้าตัวเก็บประจุดีหน้าจอจะแสดงชื่อุปกรณ์เป็น Capacitor พร้อมค่าความจุ ให้คายประจุหรือดิสชาร์จก่อนวัดตัวเก็บประจุทุกครั้ง

วัดตัวเก็บประจุ   วัดคาปาซิเตอร์
      ตัวเก็บประจุค่า  22UF  พิมพ์ไว้ที่ตัวสินค้าวัดได้  21.57UF   ถือว่า C  สภาพดี เพราะได้ค่าใกล้เคียง


2.3  วัดไดโอด  ซีเนอร์ไดโอด  LED  ถ้าอุปกรณ์สภาพดีหน้าจอจะแสดงชื่อเป็นไดโอดเนื่องจากเป็นอุปกรณ์ในกลุ่มเดียวกัน พร้อมแสดงแรงดันตกคร่อมไดโอด ( Vf)  เครื่องวัดรุ่นใช้แบต 9V จะแสดง ซีเนอร์ไดโอดเป็นไดโอดแทน   ส่วนเครื่องวัดรุ่น TC1 แบบชาร์ตไฟได้จะมีช่องวัดซีเนอร์ไดโอดโดยเฉพาะคือช่อง KAA ให้เสียบขาอาโนดที่ช่อง A และคาโทดที่ช่อง K

วัดไดโอด   ซีเนอร์ไดโอด   LED
     วัดไดโอดเสียบช่อง 123 ตำเหน่งช่องเสียบต้องไม่ต่อถึงกัน เช่น 1 กับ 2  ได้  2 กับ 3 ได้  1 กับ 3 ได้


เครื่องวัด  LCR  TC1  วัด R L C  ไดโอด ซีเนอร์  ทรานซิสเตอร์  SCR มอสเฟต ไตรแอค
                           วัด LED เครื่องจะแสดงเป็นไดโอดแทน LED จะสว่างและกระพริบเล็กน้อย


Test    diode   with   multimeter  วัดไดโอด  2 ขา
                                                            วัดไดโอด  2 ขา  (  Diode  2  pin )


วัดไดโอด  3  ขา
                                                   วัดไดโอด  3  ขา   ( Diode  3 pin  )


Test   zener   diode   with   multimeter
  รุ่นนี้มีช่องสำหรับวัดซีเนอร์ไดโอดโดยเฉพาะ  ให้เสียบอาโนดที่ช่อง A ขาคาโทดที่ช่อง K
  ถ้านำไปเสียบช่องอื่นๆ เครื่องจะแสดงเป็นไดโอดธรรมดาแทน


Test    diode   with   multimeter
                      รุ่นราคาถูกแบบใช้ถ่าน 9V  เมื่อวัดซีเนอร์ไดโอด จะแสดงผลเป็นไดโอดแทน



2.4  วัดวาริสเตอร์    ถ้าวาริสเตอร์สภาพดีจะแสดงเป็นคาปาซิเตอร์แทน เนื่องจากวาริสเตอร์ปกติ 2 ขาจะไม่ต่อถึงกันวัดด้วยโอห์มมิเตอร์เข็มก็ไม่ขึ้นสักครั้ง  ให้สังเกตสภาพของวาริสเตอร์ด้วยว่าอยู่ในสภาพดีไม่มีรอยไหม้

electronic components tester   Multi function test  meter TC1 use

                                       วัดวาริสเตอร์  Varistor    ถ้าวาริสเตอร์สภาพดีจะแสดงเป็นคาปาซิเตอร์แทน


2.5  วัดทรานซิสเตอร์ ให้เสียบช่อง 123   ถ้าอุปกรณ์สภาพดีจะแสดงชื่อเป็น   Transistor  พร้อมระบุชนิดว่าเป็นชนิด NPN หรือ PNP และบอกอัตราขยายของทรานซิสเตอร์ (hFE) ด้วย  ถ้าทรานซิสเตอร์สภาพดีไม่ซ๊อตไม่ขาดต้องมีอัตราขยาย    ปกติอัตราขยายของทรานซิสเตอร์จะมีปริมาณ   หลายเท่า -  หลายร้อยเท่า

วัดทรานซิสเตอร์   Test  transistor
                            ทรานซิสเตอร์มีอัตราขยาย  ( hFE )  = 216 เท่า  แสดงว่าไม่ขาด ไม่ซ๊อต


Test    Transistor    with   multimeter   วัดทรานซิสเตอร์
                 ทรานซิสเตอร์มีอัตราขยาย  ( hFE )  = 279  เท่า  แสดงว่าไม่ขาด ไม่ซ๊อต


Test    Transistor    with   multimeter

Test    Transistor    with   multimeter
             วัดทรานซิสเตอร์  ถ้าอุปกรณ์สภาพดีจะแสดงชื่อเป็น   Transistor  
             พร้อมระบุชนิดว่าเป็นชนิด NPN หรือ PNP และบอกอัตราขยายของทรานซิสเตอร์ (hFE) 



Test    Transistor     with   multimeter
                         วัดทรานซิสเตอร์จานบิน ถ้าทรานซิสเตอร์ดีจะมีอัตราขยาย  ( hFE )

2.6  วัดมอสเฟตให้เสียบช่อง 123  ถ้าอุปกรณ์สภาพดีจะแสดงชนิดมอสเฟตว่าเป็นชนิด  P แชนแนลหรือ N แชนแนลพร้อมแสดงแรงดันทริกขา G   ( Vt)

วัดมอสเฟต
    MOSFT  Test 

2.7  วัดอุปกรณ์กลุ่มไทริสเตอร์ เช่น   SCR  ไตรแอค  ให้เสียบช่อง  123  ถ้าอุปกรณ์สภาพดีจะแสดงหน้าจอตามรูปด้านล่าง

Test    SCR    with   multimeter
                         วัด  SCR  หน้าจอจะแสดงเป็น Thyristor พร้อมสัญลักษณ์ของ SCR


Test   triac   with  multimeter
                          วัดไตรแอค หน้าจอจะแสดงเป็น  Triac  พร้อมสัญลักษณ์ของไตรแอค


3.   ข้อจำกัดในการวัดอุปกรณ์   เครื่องวัดนี้เหมาะสำหรับการวัดอุปกรณ์ขนาดเล็ก ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อวัดอุปกรณ์ขนาดใหญ่  เนื่องจากกระแสที่จ่ายออกจากเครื่องวัดเพื่อทดสอบอุปกรณ์มีปริมาณน้อยเวลาวัดอุปกรณ์พวกไทริสเตอร์บางเบอร์ ( ตัวใหญ่)  เช่น SCR ไตรแอค กระแสทริกมีปริมาณไม่พอที่จะทริกให้มันทำงาน เครื่องวัดจะไม่รู้จักอุปกรณ์เบอร์นั้น  ๆ  ( Triac Range: IGT < 6mA )  ไตรแอคบางเบอร์เครื่องวัดจะมองเป็นตัวต้านทานแทน   ทรานซิสเตอร์บางเบอร์เครื่องวัดจะมองเป็นไดโอดแทน   ไอจีบีทีบางเบอร์เครื่องวัดจะมองเห็นเป็นคาปาซิเตอร์แทน   สำหรับอุปกรณ์ตัวใหญ่มักจะเสียในลักษณะขาด และซ๊อต ให้ใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็มย่านวัด   Rx1 หรือ Rx10 วัดยืนยันการขาดและการซ๊อตอีกครั้ง  ประเด็นสำคัญที่เครื่องวัด  Multi-function Tester ยังแสดงว่าเป็นไดโอด ตัวต้านทาน หรือ คาปาซิเตอร์ก็บอกทางอ้อมได้ว่าอุปกรณ์ที่วัดไม่ได้ขาดหรือซ๊อต


วัดทรานซิสเตอร์ฮอร์   Transistor Hor  Out  test
   วัดทรานซิสเตอร์ฮอร์เอ้ามีไดโอดอยู่ข้างใน ( Transistor Hor ) เครื่องวัดมองเป็นไดโอด 2 ตัว
   ทรานซิสเตอร์ที่วัดสาธิตเป็นของใหม่และสภาพดี

electronic components tester   วัดทรานซิสเตอร์ฮอร์เอ้า
  วัดทรานซิสเตอร์ฮอร์เอ้ามีไดโอดอยู่ข้างใน ( Transistor Hor ) เครื่องวัดมองเป็นไดโอด 2 ตัว
   ทรานซิสเตอร์ที่วัดสาธิตเป็นของใหม่และสภาพดี


Test  IGBT  with  multimeter
   วัด IGBT  ไอจีบีทีตัวใหญ่ เครื่องมองเป็นคาปาซิเตอร์ตรงขาเกต ( G )  เนื่องจากขาเกตจะมีฉนวนคั่นไว้ไม่ได้ต่อ อยู่กับส่วนอื่นๆมีอินพุตโมเดลเป็นคาปาซิเตอร์    ขา G คือขา 1 และขา  C กับ E คือขา 2 และ 3 ตามลำดับไอจีบีทีเบอร์นี้มีไดโอดคร่อมอยู่ที่ขา C-E     ตัวที่วัดเป็นตัวอย่างนี้สภาพดีอยู่


Test  IGBT  with  multimeter
    วัด  IGBT ไอจีบีทีตัวใหญ่ ด้วยเครื่องวัดรุ่นใช้แบต 9V   เครื่องวัดมองเป็นมอสเฟต เนื่องจากเครื่องใช้ซอฟแวร์คนละรุ่น  เนื่องจากขาเกตของไอจีบีทีและมอสเฟตมีฉนวนคั่นไว้ไม่ได้ต่ออยู่กับขาอื่นๆ จึงมีอินพุตโมเดลเป็นคาปาซิเตอร์   ตัวที่วัดเป็นตัวอย่างนี้สภาพดีอยู่


Test  IGBT  with  multimeter
 
วัด  IGBT ไอจีบีทีตัวใหญ่เบอร์นี้ไม่มีไดโอดคร่อมขา C-E   วัดด้วยเครื่องวัดรุ่นใช้แบต 9V   เครื่องวัดมองเป็นคาปาซิเตอร์  เนื่องจากขาเกตของไอจีบีทีและมอสเฟตมีฉนวนคั่นไว้ไม่ได้ต่ออยู่กับขาอื่นๆจึงมีอินพุตโมเดลเป็นคาปาซิเตอร์   ขา 1 คือขาเกต ถ้ามีไดโอดต่ออยู่ระหว่างขา C-E เครื่องจะวัดเจอ   ตัวที่วัดเป็นตัวอย่างนี้ IGBT  สภาพใหม่และดีอยู่



electronic components tester   test Triac
   วัดไตรแอคเครื่องวัดมองเป็นตัวต้านทานแทน   ตาม Datasheet  ขาเรียง  A1   A2   G  ตัวที่วัดเป็นตัวอย่างนี้สภาพดีอยู่  ปกติแล้วไตรแอคถ้าใช้มัลติเตอร์แบบเข็มวัด  เข็มจะวัดขึ้น 2 ครั้งคือขา G กับขา A1  และขา G กับขา A2   


Test  triac with multimeter
    วัดไตรแอคเครื่องทำน้ำอุ่นถ้าอุปกรณ์สภาพดีจะแสดงเป็นตัวต้านทาน 2 ตัวตามรูป  เครื่องวัดไม่มีกระแส
พอที่จะทริกขาเกตให้มันทำงาน เครื่องวัดจึงมองไตรแอคเป็นตัวต้านทานแทน


Test  triac with multimeter

วัดไตรแอคเครื่องทำน้ำอุ่นด้วยเครื่องวัดรุ่นราคาถูกนี้ไม่สามารถแสดงว่าความต้านทานสูงๆระดับ  45Mega Ohm ได้จึงแสดงได้เฉพาะความต้านทานระหว่างขา G กับขา A1   ( ขา 1 กับขา 2 )  ไตรแอคที่วัดสาธิตเป็นตัวใหม่และสภาพดีอยู่ จะเห็นว่าเครื่องวัดรุ่น TC1 แบบชาร์ตไฟได้ มีความสามารถมากกว่า



4. ขอบเขตที่ควรใช้งาน   เครื่องวัด  Multi-function Tester   มีผลการวัดถูกต้องระดับหนึ่งเหมาะสำหรับใช้กับงานซ่อมทั่วไป    งาน DIY   และ งานทดลองในการศึกษาเรียนรู้  สำหรับงานที่เน้นผลการวัดถูกต้องสูงเช่นงานอุตสาหกรรม งานวิจัยระดับห้องแลปให้ใช้เครื่องมือวัดที่มีค่าการวัดถูกต้องและเที่ยงตรงสูงจากยี่ห้อชั้นนำ   สำคัญมากก่อนวัดคาปาซิเตอร์ต้องคายประจุหรือดิสชาร์ตก่อนทุกครั้ง ถ้าไม่คายประจุทำให้เครื่องเสียหายและผลการวัดเพื้ยนได้

สเปคและขอบเขตการวัดของเครื่อง   Multi-function Tester  TC1    แบบชาร์ตไฟได้

ตัวต้านทาน : 0.01 - 50M Ohm    
ตัวเก็บประจุ : 25pF - 100mF 
ตัวเหนี่ยวนำ : 0.01mH - 20H
แรงดันไดโอด:   <  4.5V   
ซีเนอร์ไดโอดช่วงที่วัดได้ : 0.01 - 30V   ให้เสียบช่อง KAA
Transistor Detect Area :  0.01  -  4.5V    
Triac Range: IGT  <  6mA   


5. การคาลิเบรต หรือการทดสอบเครื่องวัด  เมื่อใช้ไปสักระยะเครื่องวัดเพื้ยน     ให้คาลิเบรต หรือ ตามคู่มือบอกว่าให้ทำ  Self Test  เป็นปกติของเครื่องมือวัดทุกชนิดที่ต้องทดสอบตามระยะเวลาที่กำหนดว่าให้ผลการวัดถูกต้องและเทียงตรงอยู่หรือไม่   เสียบโลหะซ๊อตขาช่อง 123  แล้วกดปุ่ม


                                                ตอนนี้เครื่องบอกให้เอาโลหะซ๊อตขาออก





                                     เมื่อทำ   Self  Test   เสร็จหน้าจอจะแสดงแบบนี้

 

จบ   การใช้งานเครื่องวัด LCR TC1  ( รวมถึงเครื่องที่คล้ายกัน วิธีใช้งาน LCR-T4  ESR )



30   เรื่อง    การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   ( เป็น ภาษาอังกฤษ)   >  อ่านที่เว็บนี้



เลือกหัวข้อ    เพื่อ   อ่านต่อในเว็บนี้    
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   มี   17  ตอน

อ่านต่อ  อีก  25 เรื่อง  เลื่อนหน้า >  ด้านล่างสุดของมือถือ หรือเลือกเรื่องจากแถบด้านข้าง

วัดไตรแอค เครื่องทําน้ำอุ่น BTA25-600B TG25C60 การวัดไตรแอคเสีย

ก่อนวัดไตรแอค (Triac) ต้องทราบชื่อขา และสัญลักษณ์ของมันก่อน  ไตรแอคมี 3 ขาคือขา A1  A2 และ G ผู้ผลิตไตรแอคบางรายใช้ชื่อขา  T1  T2 และ G  สัญลักษณ์ไตรแอคตามรูปด้านล่าง หลังจากอ่านจบจะวัดไตรแอคเป็น ไตรแอคที่ใช้วัดสาธิตเป็นของใหม่ ไตรแอคใช้กับไฟ AC  ทำหน้าที่เป็นสวิตช์ ON/OFF งานไฟ AC   มีใช้ในวงจรควบคุมมอเตอร์ AC   วงจรหรี่ไฟ ( Dimmer ) วงจรควบคุมฮีตเตอร์ และวงจร AC อื่นๆ รวมทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าเช่น  เครื่องทําน้ำอุ่น  การวัดไตรแอคในบทความนี้ใช้สำหรับวัดไตรแอคขนาดใหญ่ ส่วนไตรแอคขนาดเล็กก็มีวิธีคล้ายกันมากสามารถประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน  ไตรแอคตัวเล็กวัดความต้านทานขา G กับ T1 ได้ค่าความต้านทานใกล้เคียงกับความต้านทานขา G กับ T2  ให้มุ่งไปที่การวัดเสียแบบขาด กับเสียแบบซ๊อตก่อน   วิธีการวัดแบบทริกขา G อยู่ตอนท้ายเป็นวิธีการวัดแบบง่ายๆ 


ไตรแอค เครื่องทําน้ําอุ่น    ການວັດ  Triac

สัญลักษณ์ไตรแอค
                                                      สัญลักษณ์ไตรแอค



ข้อสังเกตการเรียงขาของไตรแอค

ขา  G คือขาที่เล็กที่สุด  วนตามเข็มนาฬิกาจะเป็นขา T1   T2  หรือขา A1  A2   เรียงกันเป็นลำดับแบบนี้ จากนั้นให้เอาขา G หันเข้าหาลำตัว จะได้ตำเหน่งขา T1  T2 ง่ายๆ

testt   Triac   check  Triac   ການວັດ  Triac
                        ขา  G คือขาที่เล็กที่สุด  ตำเหน่งขาจาก  Datasheet  TG25C60


test  triac   check  triac
                           ขา  G คือขาที่เล็กที่สุด  ตำเหน่งขาจาก  Datasheet  BTA25-600B  


ขั้นตอนการวัดไตรแอคเครื่องทําน้ําอุ่น  BTA25-600B    TG25C60

1. มองหาขา G ก่อน ขา G คือขาที่เล็กที่สุด 

2. ปรับสวิตช์เลือกย่านวัดไปที่ ย่านวัดโอห์ม

3. วัดขา G กับขา T1 ( A1)  วัดขา G กับขา T2 (A2)

ไตรแอคดี   

วัดขา G กับขา T1 ( A1) ได้ค่าความต้านทานต่ำหน่วยโอห์ม  

วัดขา G กับขา T2 ( A2) ได้ค่าความต้านทานสูงมากหน่วยเมกะโอห์ม 

ข้อสังเกตเพิ่มและหลักการจำง่ายๆ  ขา T1 ( A1) ได้ค่าความต้านทานต่ำ   T2 ( A2)  ได้ค่าความต้านทานสูงมาก

ไตรแอคเสียซ๊อตได้ค่าความทาน 0 โอห์มหรือต่ำมากๆ  ไตรแอคเสียขาดหน้าจอแสดง OL ทุกครั้ง


ການວັດ  Triac   मल्टीमीटर  мультиметр
                วัดขา G กับขา T1 ( A1) ได้ค่าความต้านทานต่ำหน่วยโอห์ม  สลับสายก็ได้ค่าใกล้เคียงกัน


test   triac   with   multimeter
            วัดขา G กับขา T2 ( A2) ได้ค่าความต้านทานสูงหน่วยเมกะโอห์ม สลับสายก็ได้ค่าใกล้เคียงกัน


4. วัดขา   T1  ( A1) กับขา T2 (A2)  สลับสายแล้ววัดอีกครั้งไตรแอคดีจะขึ้นค่าความต้านทานสูงมากหน่วยเมกะโอห์ม

เสียลักษณะขาดจะแสดง  OL ทุกครั้ง เสียลักษณะช๊อตจะได้ค่าความต้านทานต่ำมากๆ

test   triac  with   multimeter
                         วัดขา   T1  ( A1) กับขา T2 (A2) ดี วัดได้ค่าความต้านทานสูงเมกะโอห์ม


test   triac  with   multimeter
       สลับสายวัดขา   T1  ( A1) กับขา T2 (A2) ดี วัดได้ค่าความต้านทานสูงเมกะโอห์ม ค่าใกล้เคียงกัน



กรณีใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็มวัด

1.  วัดขา G  กับขา T1 ( A1) และ   วัดขา G  กับขา  T2 ( A2)

ให้ใช้ Rx1 วัดขา G  กับขา T1 ( A1) จะวัดขึ้นได้ค่าความต้านทานต่ำสลับสายก็ได้ค่าความต้านทานใกล้เคียงกัน   วัดขา G  กับขา  T2 ( A2)  เข็มจะไม่ขึ้นเลยสลับสายวัดเข็มก็ไม่ขึ้น   

เสียแบบขาด : วัดแล้วเข็มไม่ขึ้นเลยสักครั้ง  เสียแบบช๊อต :  วัดได้ค่าความต้านทาน 0 โอห์ม

2.  วัดขา  T1 ( A1)  กับ  T2 ( A2)

ใช้  Rx10K   วัดขา  T1 ( A1)  กับ  T2 ( A2)  จะวัดไม่ขึ้นเลย สลับสายวัดเข็มก็ไม่ขึ้น 

เสียแบบช๊อต :  วัดได้ค่าความต้านทาน 0 โอห์ม  (  หรือค่าโอห์มต่ำมากๆ )

เสียแบบรั่ว : ขา T1 กับ T2  เนื่องจากค่าความต้านทานสูงมากระดับเมกะโอห์ม ถ้าเข็มขึ้นคือรั่ว


test   triac  with   multimeter

        วัดขา G  กับขา T1 ( A1) ได้ค่าความต้านทานต่ำสลับสายวัดก็ได้ค่าความต้านทานใกล้เคียงกัน



วัดไตรแอค
                                  วัดขา G  กับขา T2 ( A2)  เข็มจะไม่ขึ้นเลยสลับสายวัดเข็มก็ไม่ขึ้น


วัดไตรแอค เครื่องทําน้ำอุ่นด้วยการทริกขา G

ใช้ย่านวัด  R x1  ต่อสายวัดกับขาไตรแอคตามรูปจะสสับสายวัดก็ได้เพราะไตรแอคสามารถนำกระแสได้ 2 ทางและจะใช้ไฟ + หรือไฟ - ทริกก็ได้  จากนั้นนำไฟจากขา  T2 ไปทริกขา G   ( ต้องไฟจากขา T2 เท่านั้น )  เมื่อนำไฟที่ทริกขา G ออก ไตรแอคยังคงนำกระแสได้และเข็มจะขึ้นค้างตามรูป  ถ้าไตรแอคดีเข็มต้องขึ้นค้าง

วัดไตรแอค   ການວັດ  Triac
                   ใช้  Rx1 ต่อสายวัดเข้ากับ TRIAC สลับสายก็ได้ จากนั้นนำไฟจากขา T2 ทริกขา G


วัดไตรแอค
                                      เมื่อนำไฟที่ทริกขา G ออก เข็มยังขึ้นค้างได้คือไตรแอคดี




30   เรื่อง    การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   ( เป็น ภาษาอังกฤษ)   >  อ่านที่เว็บนี้
 


เลือกหัวข้อ   เพื่อ    อ่านต่อในเว็บนี้    
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   มี   17  ตอน

อ่านต่อ  อีก  25 เรื่อง  เลื่อนหน้า >  ด้านล่างสุดของมือ หรือ  เลือกเรื่องจากแถบด้านข้าง