วัดไตรแอค เครื่องทําน้ำอุ่น BTA25-600B TG25C60 การวัดไตรแอคเสีย

ก่อนวัดไตรแอค (Triac) ต้องทราบชื่อขา และสัญลักษณ์ของมันก่อน  ไตรแอคมี 3 ขาคือขา A1  A2 และ G ผู้ผลิตไตรแอคบางรายใช้ชื่อขา  T1  T2 และ G  สัญลักษณ์ไตรแอคตามรูปด้านล่าง หลังจากอ่านจบจะวัดไตรแอคเป็น ไตรแอคที่ใช้วัดสาธิตเป็นของใหม่ ไตรแอคใช้กับไฟ AC  ทำหน้าที่เป็นสวิตช์ ON/OFF งานไฟ AC   มีใช้ในวงจรควบคุมมอเตอร์ AC   วงจรหรี่ไฟ ( Dimmer ) วงจรควบคุมฮีตเตอร์ และวงจร AC อื่นๆ รวมทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าเช่น  เครื่องทําน้ำอุ่น  การวัดไตรแอคในบทความนี้ใช้สำหรับวัดไตรแอคขนาดใหญ่ ส่วนไตรแอคขนาดเล็กก็มีวิธีคล้ายกันมากสามารถประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน  ไตรแอคตัวเล็กวัดความต้านทานขา G กับ T1 ได้ค่าความต้านทานใกล้เคียงกับความต้านทานขา G กับ T2  ให้มุ่งไปที่การวัดเสียแบบขาด กับเสียแบบซ๊อตก่อน   วิธีการวัดแบบทริกขา G อยู่ตอนท้ายเป็นวิธีการวัดแบบง่ายๆ 


ไตรแอค เครื่องทําน้ําอุ่น    ການວັດ  Triac

สัญลักษณ์ไตรแอค
                                                      สัญลักษณ์ไตรแอค



ข้อสังเกตการเรียงขาของไตรแอค

ขา  G คือขาที่เล็กที่สุด  วนตามเข็มนาฬิกาจะเป็นขา T1   T2  หรือขา A1  A2   เรียงกันเป็นลำดับแบบนี้ จากนั้นให้เอาขา G หันเข้าหาลำตัว จะได้ตำเหน่งขา T1  T2 ง่ายๆ

testt   Triac   check  Triac   ການວັດ  Triac
                        ขา  G คือขาที่เล็กที่สุด  ตำเหน่งขาจาก  Datasheet  TG25C60


test  triac   check  triac
                           ขา  G คือขาที่เล็กที่สุด  ตำเหน่งขาจาก  Datasheet  BTA25-600B  


ขั้นตอนการวัดไตรแอคเครื่องทําน้ําอุ่น  BTA25-600B    TG25C60

1. มองหาขา G ก่อน ขา G คือขาที่เล็กที่สุด 

2. ปรับสวิตช์เลือกย่านวัดไปที่ ย่านวัดโอห์ม

3. วัดขา G กับขา T1 ( A1)  วัดขา G กับขา T2 (A2)

ไตรแอคดี   

วัดขา G กับขา T1 ( A1) ได้ค่าความต้านทานต่ำหน่วยโอห์ม  

วัดขา G กับขา T2 ( A2) ได้ค่าความต้านทานสูงมากหน่วยเมกะโอห์ม 

ข้อสังเกตเพิ่มและหลักการจำง่ายๆ  ขา T1 ( A1) ได้ค่าความต้านทานต่ำ   T2 ( A2)  ได้ค่าความต้านทานสูงมาก

ไตรแอคเสียซ๊อตได้ค่าความทาน 0 โอห์มหรือต่ำมากๆ  ไตรแอคเสียขาดหน้าจอแสดง OL ทุกครั้ง


ການວັດ  Triac   मल्टीमीटर  мультиметр
                วัดขา G กับขา T1 ( A1) ได้ค่าความต้านทานต่ำหน่วยโอห์ม  สลับสายก็ได้ค่าใกล้เคียงกัน


test   triac   with   multimeter
            วัดขา G กับขา T2 ( A2) ได้ค่าความต้านทานสูงหน่วยเมกะโอห์ม สลับสายก็ได้ค่าใกล้เคียงกัน


4. วัดขา   T1  ( A1) กับขา T2 (A2)  สลับสายแล้ววัดอีกครั้งไตรแอคดีจะขึ้นค่าความต้านทานสูงมากหน่วยเมกะโอห์ม

เสียลักษณะขาดจะแสดง  OL ทุกครั้ง เสียลักษณะช๊อตจะได้ค่าความต้านทานต่ำมากๆ

test   triac  with   multimeter
                         วัดขา   T1  ( A1) กับขา T2 (A2) ดี วัดได้ค่าความต้านทานสูงเมกะโอห์ม


test   triac  with   multimeter
       สลับสายวัดขา   T1  ( A1) กับขา T2 (A2) ดี วัดได้ค่าความต้านทานสูงเมกะโอห์ม ค่าใกล้เคียงกัน



กรณีใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็มวัด

1.  วัดขา G  กับขา T1 ( A1) และ   วัดขา G  กับขา  T2 ( A2)

ให้ใช้ Rx1 วัดขา G  กับขา T1 ( A1) จะวัดขึ้นได้ค่าความต้านทานต่ำสลับสายก็ได้ค่าความต้านทานใกล้เคียงกัน   วัดขา G  กับขา  T2 ( A2)  เข็มจะไม่ขึ้นเลยสลับสายวัดเข็มก็ไม่ขึ้น   

เสียแบบขาด : วัดแล้วเข็มไม่ขึ้นเลยสักครั้ง  เสียแบบช๊อต :  วัดได้ค่าความต้านทาน 0 โอห์ม

2.  วัดขา  T1 ( A1)  กับ  T2 ( A2)

ใช้  Rx10K   วัดขา  T1 ( A1)  กับ  T2 ( A2)  จะวัดไม่ขึ้นเลย สลับสายวัดเข็มก็ไม่ขึ้น 

เสียแบบช๊อต :  วัดได้ค่าความต้านทาน 0 โอห์ม  (  หรือค่าโอห์มต่ำมากๆ )

เสียแบบรั่ว : ขา T1 กับ T2  เนื่องจากค่าความต้านทานสูงมากระดับเมกะโอห์ม ถ้าเข็มขึ้นคือรั่ว


test   triac  with   multimeter

        วัดขา G  กับขา T1 ( A1) ได้ค่าความต้านทานต่ำสลับสายวัดก็ได้ค่าความต้านทานใกล้เคียงกัน



วัดไตรแอค
                                  วัดขา G  กับขา T2 ( A2)  เข็มจะไม่ขึ้นเลยสลับสายวัดเข็มก็ไม่ขึ้น


วัดไตรแอค เครื่องทําน้ำอุ่นด้วยการทริกขา G

ใช้ย่านวัด  R x1  ต่อสายวัดกับขาไตรแอคตามรูปจะสสับสายวัดก็ได้เพราะไตรแอคสามารถนำกระแสได้ 2 ทางและจะใช้ไฟ + หรือไฟ - ทริกก็ได้  จากนั้นนำไฟจากขา  T2 ไปทริกขา G   ( ต้องไฟจากขา T2 เท่านั้น )  เมื่อนำไฟที่ทริกขา G ออก ไตรแอคยังคงนำกระแสได้และเข็มจะขึ้นค้างตามรูป  ถ้าไตรแอคดีเข็มต้องขึ้นค้าง

วัดไตรแอค   ການວັດ  Triac
                   ใช้  Rx1 ต่อสายวัดเข้ากับ TRIAC สลับสายก็ได้ จากนั้นนำไฟจากขา T2 ทริกขา G


วัดไตรแอค
                                      เมื่อนำไฟที่ทริกขา G ออก เข็มยังขึ้นค้างได้คือไตรแอคดี




30   เรื่อง    การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   ( เป็น ภาษาอังกฤษ)   >  อ่านที่เว็บนี้
 


เลือกหัวข้อ   เพื่อ    อ่านต่อในเว็บนี้    
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   มี   17  ตอน

อ่านต่อ  อีก  25 เรื่อง  เลื่อนหน้า >  ด้านล่างสุดของมือ หรือ  เลือกเรื่องจากแถบด้านข้าง