ก่อนวัด SCR มารู้จักชื่อขาและสัญลักษณ์ของเอสซีอาร์ SCR มี 3 ขาคือขาแอโอด ( Anode ) ใช้สัญลักษณ์ A , ขาแคโทด ( Kathode)ใช้สัญลักษณ์ K ขาเกต ( Gate ) ใช้สัญลักษณ์ G SCR มีหลายเบอร์มากและมีผู้ผลิตหลายแหล่งแต่ละเบอร์อาจมีการเรียงตำเหน่งขาไม่เหมือนกัน เบอร์ที่ใช้วัดสาธิตใช้เบอร์ C106MG มีการเรียงขา K A G ตามรูปด้านล่าง
ขา SCR เบอร์ C106MG ขา 1 = K , 2 = A , 3 = G
สัญลักษณ์ เอสซีอาร์ ใช้ประกอบการวัด
วัด SCR ด้วย มัลติมิเตอร์ดิจิตอล
ใช้ย่านวัดโอห์มในการวัด SCR ที่ดีจะวัดขึ้นค่าความต้านทาน 1 ครั้งคือครั้งที่วัดขา G และ K SCR เสียถ้าขาดจะวัดค่าความต้านทานไม่ขึ้นเลยสักครั้ง ถ้าเสียซ๊อตจะขึ้นค่าความต้านทาน 0 Ohm หรือขึ้นความต้านทานต่ำมากๆ
1) วัดขา G กับ K ตามรูป SCR ดีจะขึ้นค่าความต้านทาน 1 ครั้ง จากนั้นสลับสายวัดจะขึ้น OL 1 ครั้ง
วัดขา G และ K SCR ที่ดีจะวัดขึ้นค่าความต้านทาน 1 ครั้ง
สลับสายวัดขา G และ K SCR ที่ดีจะขึ้น OL 1 ครั้ง
2. วัดขา A กับ K และสลับสายวัดอีกครั้ง SCR ที่ดีจะแสดง OL ทั้ง 2 ครั้ง ถ้าเสียซ๊อตจะขึ้นค่าความต้านทาน 0 Ohm หรือขึ้นความต้านทานต่ำมาก
วัดขา A กับ K SCR ที่ดีจะแสดง OL ทั้ง 2 ครั้ง
สลับสายวัด วัดขา A กับ K SCR ที่ดีจะแสดง OL
ขั้นตอนวัด SCR ด้วยมัลติมิเตอร์แบบเข็ม
หลักการทำงานเบื้องต้นของ SCR คือเมื่อขา A ได้รับไฟ + และขา K ได้รับไฟ - เมื่อขาเกตได้รับกระแสทริกบวก SCR จะนำกระแสจากแอโนดไปแคโทด ในการวัดใช้ย่านวัด Rx 1
1. วัดขา G กับ K SCR ที่ดีเข็มจะขึ้นมาก 1 ครั้งและเข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง กรณีเสียซ๊อตเข็มจะขึ้นมากสุดสเกลทั้ง 2 ครั้ง กรณีเสียขาดจะวัดไม่ขึ้นเลย
รูปแสดง วัดขา G กับ K SCR ที่ดีเข็มจะขึ้นมาก 1 ครั้ง
รูปแสดง สลับสายวัด วัดขา G กับ K SCR ที่ดีเข็มจะไม่ขึ้น 1 ครั้ง
2. วัดขา A กับขา K จากนั้นสลับสายวัด วัดอีกครั้ง SCR ที่ดีเข็มไม่ขึ้นเลยทั้ง 2 ครั้ง กรณีเสียซ๊อตเข็มจะขึ้นมากสุดสเกลทั้ง 2 ครั้ง
รูปแสดง วัดขา A กับขา K SCR ที่ดีเข็มไม่ขึ้นเลยทั้ง 2 ครั้ง
รูปแสดง สลับสายวัด วัดขา A กับขา K SCR ที่ดีเข็มไม่ขึ้นเลยทั้ง 2 ครั้ง
วัด SCR ด้วยการทริกขาเกต
ที่ย่านวัด R x 1 จะมีไฟ 3VDC 150mA จ่ายออกจากสายวัด จากหลักการทำงานเบื้องต้นของ SCR คือเมือขา A ได้รับไฟ + และขา K ได้รับไฟ - เมื่อขาเกตได้รับกระแสทริกบวก SCR จะนำกระแสจากแอโนดไปแคโทด จะใช้หลักการนี้นำไปทริกขา G เพื่อทดสอบการนำกระแสของ SCR ว่าสามารถนำกระแสได้ตามปกติหรือไม่ ? ถ้าสามารถนำกระแสได้ตามปกติคือ SCR ยังดีนั่นคือ สามารถนำกระแสและหยุดนำกระแสได้ ดูรูปตามลำดับต่อไปนี้
ต่อสายวัดตามรูป ขา K กับสายวัดสีแดง ( สายสีแดงจ่ายไฟ - )
ขา A ต่อสายวัดสีดำ ( สายสีดำจ่ายไฟ + )
ทริกขา G ด้วยไฟ + จากขา A ( สายวัดสีดำ )
เมื่อเอาไฟ + ที่ทริกขา G ออก SCR ยังคงสามารถนำกระแสค้างได้ คือ SCR ดี
ให้ SCR หยุดนำกระแส โดยแตะขา A และ K เข้าด้วยกัน
ให้ SCR หยุดนำกระแส โดยแตะขา A และ K เข้าด้วยกัน รูปแสดง SCR หยุดนำกระแส
30 เรื่อง การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ( เป็น ภาษาอังกฤษ) > อ่านที่เว็บนี้
เลือกหัวข้อ เพื่อ อ่านต่อในเว็บนี้
เช่น การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มี 17 ตอน