เรียนอาชีวะดีไหม เรียนเทคนิคและสายอาชีพ สายช่างดีไหม และข้อมูลควรรู้ก่อนเรียน

การเรียนอาชีวะเป็นการเรียนสายอาชีพซึ่งมุ่งฝึกทักษะอาชีพเฉพาะทาง มีข้อดีหลายอย่างและก็มีข้อควรพิจารณาที่ควรรู้ก่อนเลือกเรียนด้วย  หลังจากอ่านบทความนี้จะทราบถึงข้อดีและข้อควรรู้ก่อนเลือกเรียนสายอาชีวะ    ข้อมูลในบทความนี้เป็นการบอกเล่าจากประสบการณ์ตรงที่ผ่านการเรียนอาชีวะสาขาช่างมาจากวิทยาลัยเทคนิคแห่งหนึ่งและข้อมูลในบทความนี้ทุกคนสามารถพิจารณาตามได้ว่ามันมีน้ำหนักมากน้อยแค่ไหน    คนเรียนสายอาชีวะสามารถประสบความสำเร็จ ประกอบอาชีพส่วนตัวและเรียนต่อในระดับปริญญาได้โดยมีมหาวิทยาลัยหลายแห่งเปิดรับคนเรียนจบสายอาชีวะให้เรียนต่อระดับสูงขึ้นกรณีต้องการเรียนต่อระดับปริญญา       มีวีดีโอในยูทูปจำนวนมากที่พูดถึงปัญหาการว่างงานและยังแนะนำทางออกให้ปัญหานี้คือให้คนเลือกเรียนสายเทคโนโลยี   สายอาชีวะ/สายช่าง และ สายวิทยาศาสตร์   เนื่องจากตำเหน่งงานจำนวนมากในภาคอุตสาหกรรม การค้าและการบริการต่างๆ  ต้องการคนที่เรียนจบสาขาเหล่านี้


เรียนอาชีวะ  เรียนเทคนิค  สายอาชีพ  ดีไหม




ข้อดีของการเรียนอาชีวะ / สายอาชีพ

1)  ข้อดีของการเรียนสายอาชีพคือเป็นการเรียนที่มุ่งเน้นฝึกทักษะวิชาชีพที่ใช้ในการทำงานจริง  ทำให้มีความพร้อมในการทำงานสูงเมื่อเรียนจบ
2)  มีความยืดหยุ่นสูงเรื่องระยะเวลาเรียน  คือ  จบ  ปวช  ปวส  ก็สามารถหางานก่อนถ้ามีความต้องการเรียนต่ออีกครั้งก็สามารถกลับมาเรียนต่อระดับปริญญาได้เมื่อพร้อม   ส่วนอีกกรณีคือจบ ปวช  และต้องการเรียนต่อปริญญาตรีรวดเดียวเลยก็ทำได้     จะเห็นว่าตรงนี้เป็นข้อดีของการเรียนสายอาชีวะคือมีความยืดหยุ่นสูงและหลายคนก็อาจต้องการความยืดหยุ่นนี้
3)  มีความเจาะจงต่อตำเหน่งงานสูง    สายอาชีวะมีจุดประสงค์การเรียนการสอนเพื่อทำงานและตอบโจทย์ตำเหน่งงานที่เจาะจงและชัดเจนตั้งแต่แรก  ยกตัวอย่างเช่น เรียนช่างไฟก็เพื่อไปประกอบอาชีพเป็นช่างไฟและอาชีพอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า   เช่น ทำกิจการส่วนตัวเกี่ยวกับอุปกรณ์ไฟฟ้า  การติดตั้งระบบไฟฟ้า   ดูแลระบบไฟฟ้า  ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า   ทำงานสายเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับไฟฟ้า   นอกจากนี้หลักสูตรช่างไฟฟ้าระดับ   ปวช   ปวส   ก็ยังมีการเรียนวิชาสามัญเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการต่อในระดับปริญญาตรีอีกด้วย



ข้อควรรู้และควรพิจารณาก่อนเลือกเรียนสายอาชีวะ 

   การเรียนอาชีวะคาบเวลาเรียนส่วนใหญ่จะเป็นวิชาชีพเฉพาะทาง อีกทั้งความสนใจของผู้เรียนและบรรยากาศการเรียนการสอนของวิทยาลัยก็จะมุ่งเน้นสอนและฝึกทักษะวิชาชีพเป็นลำดับแรก   ส่วนวิชาสามัญ( เช่น คณิต ฟิสิกส์ ภาษาอังกฤษ )ก็จะมีการสอนโดยมีความเข้มข้นดีระดับหนึ่ง ( แต่ไม่เหมือนสาย ม. 6   เนื่องจากข้อจำกัดด้านเวลาเรียนและบรรยากาศการเรียนด้วย ) มันเป็นธรรมชาติของการเรียนสายอาชีพที่จะเน้นเรียนและฝึกทักษะวิชาชีพเป็นหลัก   ส่วนวิชาสามัญอื่นๆจะมีการเรียนเท่าที่จำเป็นตามหลักสูตรกำหนด    ต่างจากสาย ม.6 จะมีคาบเวลาเรียนจำนวนมากและมุ่งเน้นเรียนวิชาสามัญอย่างเดียวแบบเข้มข้นทำให้มีความพร้อมสำหรับการเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยสูงกว่า   โดยสาย ม. ุ6  จะได้บรรยากาศของการเรียนเพื่อมุ่งสู่มหาวิทยาลัย ( แต่สาย ม.6 จะมีการแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัยที่สูงมากจากนักเรียน  ม.ปลายทั่วประเทศ นี้อาจเป็นข้อควรพิจารณาของสาย  ม.6 )   โดยปกติบางสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยจะมีหลักสูตรที่รับคนเรียนจบสายอาชีวะมาเรียนต่อโดยเฉพาะและแยกจากสาย ม.6 เพื่อปรับวิชาเรียนให้ครบตามหลักสูตรของสาขาวิชานั้นๆกำหนดไว้   คนเรียนสายอาชีวะก็สามารถวางแผนการเรียนต่อในระดับสูงได้เช่นกันโดยต้องมีการเตรียมตัวเพื่อสอบและสำรวจว่าเส้นทางสายอาชีพที่เลือกเรียนอยู่นั้นถ้าต้องการเรียนต่อระดับสูงขึ้นไปอีกต้องไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยอะไร   มีหลักสูตรอะไรให้เรียนต่อบ้าง   การสำรวจเส้นทางการเรียนและเส้นทางอาชีพนี้ต้องทำตั้งแต่ตอนแรกๆที่เลือกเรียน     ปัญหาการเตรียมตัววิชาสามัญ(  คณิต ฟิสิกส์ ภาษาอังกฤษ )ให้พร้อมนี้ก็มีทางออกสำหรับสายอาชีวะ   ปัจจุบันมีหนังสือและคอร์สสอนออนไลน์จำนวนมากที่ติววิชา  ม.ต้น  ม.ปลายและติววิชาที่ใช้สอบวิศวะโดยเฉพาะ   คนที่สนใจก็สามารถเลือกเรียนเพิ่มเติมตามเวลาที่สะดวกเพื่อปูพื้นฐานวิชาสามัญให้แน่นและพร้อมสำหรับการเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยได้ไม่ยากเมื่อเทียบกับสมัยก่อน


สรุปการเรียนสายอาชีวะ / สายอาชีพมีข้อดีหลายข้อและข้อที่สำคัญคือมีความยืดหยุ่นสูงเรื่องระยะเวลาเรียน   การเรียนสายอาชีวะช่วยแก้ปัญหาคนเรียนปริญญาที่หลายสาขามีจำนวนคนเรียนมากเกินไป  ทำให้หางานทำยากเนื่องจากตลาดแรงงานไม่ได้ต้องการคนจบปริญญามากขนาดนั้น   กลับกันสาขาที่เปิดสอนในสถาบันอาชีวะส่วนใหญ่เป็นสาขาที่มีการจ้างงานจำนวนมากในภาคอุตสาหกรรม การค้าและการบริการที่ขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลักของประเทศ  การเรียนสายอาชีวะก็ไม่ได้มีข้อดีไปหมดมันมีข้อควรพิจารณาด้วยซึ่งบทความนี้ได้แนะนำแนวทางแก้ปัญหานี้ไว้เแล้ว  บางอาชีพการเรียนระดับ ปวช ปวส ก็เพียงพอสำหรับการประกอบอาชีพได้แล้วไม่ต้องเสียเวลาเรียน 4-5 ปีในมหาวิทยาลัย  อีกทั้งปัจจุบันมีอาชีพใหม่ๆเกิดขึ้นตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี   คนปัจจุบันนิยมเลือกเรียนตามความสนใจเฉพาะวิชาที่อยากเรียนและใช้เวลาเรียนไม่นานเกินไปด้วย


เลือกเรื่องถัดไปที่น่าสนใจอ่านต่อ  
เช่น  การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   มี  17 ตอน

เรียนช่างอะไรดี ระหว่างเรียนไฟฟ้ากำลังหรือเรียนอิเล็กทรอนิกส์ดีไหม ตอนท้ายตอบคำถามการเรียนช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ยากไหม

ตอบคำถามการเรียนช่างว่าจะเลือกเรียนไฟฟ้ากำลังหรือเรียนอิเล็กทรอนิกส์ดี    มีรูปและตารางประกอบช่วยให้เข้าใจง่าย อยู่ด้านล่าง  ตอนท้ายสุดเป็นการตอบคำถามเรียนช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ยากไหม   ข้อมูลที่อยู่ใบบทความนี้เป็นประสบการณ์ตรงของผู้เขียนเอง ผ่านการสมัครงาน  หางานและทำงานตามโรงงานมาก็หลายที่จนในที่สุดเมื่อหาประสบการณ์ในโลกกว้างเพียงพอแล้วปัจจุบันหันมาประกอบกิจการส่วนตัวเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เรียน   จึงนำประสบการณ์และข้อมูลมาแบ่งปัน    ข้อดีของการเรียนช่างคือสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้มาทำงานตามบริษัทต่างๆ    โรงงานอุตสากรรม    ประกอบกิจการส่วนตัว   รับงานพิเศษระหว่างเรียน   ทำงาน DIY    ถึงแม้จะมีเทคโนโลยีใหม่ๆมาในอนาคตเราก็สามารถเรียนรู้เพิ่มเติม  Up Skill  ได้เนื่องจากมีทักษะช่างพื้นฐานเป็นฐานเดิมอยู่แล้ว  สำหรับคนที่ต้องการเรียนต่อระดับสูงขึ้น ปัจจุบันก็มีมหาวิทยาลัยหลายที่เปิดสาขาให้เรียนต่อจนถึงระดับปริญญาตรี  โท  เอก  การเรียนช่างเป็นการนำความรู้+ทักษะไปใช้งานจริงและประยุกต์หลักการทางฟิสิกส์ / วิทยาศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ   ถึงแม้เราจะไม่ได้ทำงานตามโรงงาน/บริษัทต่างๆแล้วก็ตามแต่ความรู้และทักษะช่างที่มีอยู่นั้นสามารถนำไปต่อยอดได้อีกเยอะยกตัวอย่างเช่น ทำระบบ  Smart  Home   ,  Smart Farming   ใช้อุปกรณ์ IT   ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ     ดูแลระบบไฟฟ้าที่ผิดปกติให้บ้านตัวเอง  ให้เพื่อนบ้าน  ชุมชนและวัด  เป็นต้น และในอนาคตใกล้ๆนี้จะมีเรื่องรถไฟฟ้าและสิ่งที่เกียวข้องมาแน่นอน   พลังงานทดแทนแบบต่าง ๆ  ( เช่น โซลาร์เซลล์ )  อุปกรณ์   IOT  การสื่อสาร  5G  6G    เราก็จะเข้าใจเทคโนโลยีเหล่านี้และอยู่ในแทรนด์นี้ได้ไม่ยาก


เรียนช่างอะไรดี


เรียนไฟฟ้ากำลังหรือเรียนอิเล็กทรอนิกส์

วิเคราะห์เรียนไฟฟ้ากำลังหรือเรียนอิเล็กทรอนิกส์ดี    ?

       ไฟฟ้าเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานที่สำคัญมากเราจะขาดไฟฟ้าไม่ได้เลย   ระบบไฟฟ้าทีมีอยู่ปัจจุบันนี้ก็ต้องการช่างไฟฟ้าและวิศวกรไฟฟ้ามาดูแลให้มันใช้งานได้ปกติและปลอดภัยตามหลักการและมาตฐาน   ถ้าจะออกแบบระบบไฟฟ้าใหม่ ต่อเติมไฟก็ต้องให้วิศกรไฟฟ้ามาออกแบบให้    ทุกโรงงาน  ทุกตึกขนาดใหญ่  ศูนย์การค้าต่างๆ  อาคารพาณิชย์และออฟฟิศ  ล้วนต้องการช่างไฟฟ้ามาดูแลระบบไฟฟ้าให้ทั้งสิ้น  ลักษณะงานของช่างไฟฟ้า   เช่น  ไฟฟ้าแสงสว่าง  ระบบไฟฟ้าสำรอง    ดูแลระบบแอร์   ตู้เย็น   ตู้แช่สินค้าต่างๆ   ลิฟท์   บันไดเลื่อน  ระบบดับเพลิง   ปั้มน้ำ  ระบบความปลอดภัยในอาคาร  ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องกลไฟฟ้าต่างๆ   บางที่ช่างไฟฟ้าอาจต้องดูแลระบบประปาด้วย ดูแลระบบไฟฟ้ากำลังทั้งภายนอกอาคารและภายในอาคาร เพิ่มจุดเต้ารับเต้าเสียบ  ถ้าเป็นงานในโรงงานก็ดูแลระบบอัตโนมัติต่างๆที่ใช้มอเตอร์ขับเคลื่อนในไลน์การผลิต   ดูแลระบบไฟในสายพานการผลิต   โรงงานที่ทำเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า   เครื่องใช้ไฟฟ้า  บริษัทเทคโนโลยีต่างๆ  ซอฟแวร์    ป้ายโฆษณา   นอกจากนี้สาขาไฟฟ้ากำลังยังไปเกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างและงานโยธาอีกทั้งภาครัฐและเอกชน    ดังนั้นปริมาณงานของสาขาไฟฟ้ากำลังจึงมีจำนวนงานมากโดยงานกระจายอยู่ทุกภาคอุตสาหกรรมทั้งโรงงาน อาคารพาณิชย์ต่างๆ  แม้กระทั้งตามบ้านเรือนทั่วไปต่างจังหวัดยังมีงานของไฟฟ้ากำลังให้ทำเยอะ   เรียนสาขาไฟฟ้ากำลังหางานง่ายเนื่องจากปริมาณงานในตลาดที่เยอะและงานแทรกอยู่ทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

 


สาขาไฟฟ้ากำลัง  งานเสาไฟฟ้าแรงดันต่ำและแรงดันสูงเพื่อส่งพลังงานไฟฟ้าไปยังจุดต่างๆ



เรียนไฟฟ้ากำลังหรือเรียนอิเล็กทรอนิกส์
                       ตัวอย่าง  วงจรอิเล็กทรอนิกส์


      สาขาอิเล็กทรอนิกส์เป็นการเรียนเกี่ยวกับการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาต่อใช้งานเป็นวงจรต่างๆ   ขอบเขตของงานอิเล็กทรอนิกส์ที่แตกต่างจากสาขาไฟฟ้ากำลังคือ  อิเล็กทรอนิกส์เน้นเรียนเกี่ยวกับระบบภาพ  ระบบเสียง การขยายสัญญาณ  การสื่อสาร  การใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์  การเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมฮาร์ดแวร์    ไฟฟ้าพื้นฐานช่างอิเล็กทรอนิกส์ก็เรียนเหมือนกันกับช่างไฟฟ้ากำลังดังนั้นถ้าไฟฟ้าขัดข้องที่เป็นเรื่องไฟฟ้าพื้นฐานช่างอิเล็กทรอนิกส์ก็สามารถแก้ไขปัญหาทางไฟฟ้านี้ได้   ถ้าเป็นงานเมนไฟฟ้ากำลังที่เป็นงานนอกอาคาร เช่น  ปีนเสาไฟฟ้า ติดตั้งสายไฟนั้นเป็นงานเมนของช่างไฟฟ้ากำลัง งานระบบไฟแรงดันสูงแรงดันต่ำตามถนนต่างๆก็เป็นงานเมนของช่างไฟฟ้ากำลัง   ช่างอิเล็กทรอนิกส์เน้นเรียนและสามารถต่อยอดไปทาง  Smart  Home  , Smart  Farming เกษตรอัจฉริยะ  , อุปกรณ์ IOT ต่างๆ  Rasperi  Adrino  เทคโนโลยีเพื่อการเกษตรใหม่ๆ   โดรนเพื่อการเกษตร      เป็นต้น  จะต่อยอดไปทางซ่อมโทรศัพท์  อุปกรณ์ IT ต่างๆก็ต่อยอดได้ดีเช่นกัน  ระบบ AI    ซ่อมและดูแลเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ  อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ   สาขาอิเล็กรอนิกส์ต่อยอดไปซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าอุปกรณ์เทคโนโลยีได้ดี  งานช่างไฟฟ้ากำลังส่วนมากเป็นงานโปรเจครับเหมาทำเล่นไม่ค่อยได้    ส่วนงานอิเล็กทรอนิกส์สามารถนำมาทำเป็นงาน DIY  ต่างๆได้   เนื่องจากโรงงานอิเล็กทรอนิกส์และจำนวนบริษัทที่ทำงานเกี่ยวข้องกับโทรคมนาคมและการสื่อสารในไทยค่อนข้างมีจำนวนจำกัดส่งผลให้งานของช่างอิเล็กทรอนิส์มีจำนวนจำกัดไปด้วย   ถ้าคนเรียนสาขาอิเล็กทรอนิกส์และอยากหางานง่ายให้เรียนเน้นหรือไปหาเรียนเสริมพวกวิชา  ไฟฟ้าคอนโทรล  PLC   เซนเซอร์  ซึ่งวิชาเหล่านี้โรงงานต้องการช่างที่มีทักษะด้านนี้เยอะเวลาทำงานที่หน้างานจริงๆเขาให้ดูแลเครื่องจักรและระบบอัตโนมัติต่างๆมันจะมีงานปนกันทั้งงานส่วนที่เป็นงานไฟฟ้าคอนโครล และงานส่วนวงจรอิเล็กทรอนิกส์ช่างก็ต้องทำงานให้เป็นทั้งหมด  ถึงแม้โรงงานจะรับช่างเมนอิเล็กทรอนิกส์และเมนไฟฟ้ากำลังมาด้วยก็จริง  ถ้าเราทำงานได้หมดโอกาสหางานง่ายก็สูงขึ้นมาก อีกทั้งเรียนจบแล้วไม่ต้องกังวลเรื่องหางานเลยเพราะเรามีทักษะช่างที่โรงงานต้องการอยู่แล้ว   จึงแนะนำคนเรียนสาขาอิเล็กทรอนิกส์ถ้าเรียนเน้นหรือไปหาเรียนเสริมวิชาไฟฟ้าคอนโทรล  PLC  เซนเซอร์แบบต่างๆ  ก็จะหางานทำตามโรงงานอุตสาหกรรมได้ง่ายเนื่องจากตำเหน่งงานที่เกี่ยวกับไฟฟ้าคอนโทรล PLC  เซนเซอร์ มีตำเหน่งงานรองรับเยอะกว่างานวงจรอิเล็กทรอนิกส์มาก   ให้ดูรูปในตารางประกอบสาขาไฟฟ้ากำลังจะเน้นวิชาเมนของไฟฟ้ากำลัง  สาขาอิเล็กทรอนิกส์จะเน้นเรียนวิชาเมนของอิเล็กทรอนิกส์  ส่วนช่องตรงกลางสามารถเรียนได้ทั้งสาขาไฟฟ้ากำลังหรืออิเล็กทรอนิกส์เนื่องจากเป็นวิชาต่อยอดจากวิชาพื้นฐาน     นอกจากนี้ยังมีสาขาวิชาใหม่ๆที่เน้นเรียนเฉพาะด้านไปอีก เช่น สาขาวิชาระบบวัดคุม สาขาวิชาแมคคาทรอนิกส์ เป็นต้น

ให้เช็คความชอบความถนัดของตัวเอง   เทรนด์ของเทคโนโลยี   และปริมาณตำเหน่งงานในตลาด  รวมถึงงานที่อยากทำจริงๆเพื่อประกอบเป็นอาชีพในอนาคตด้วยมาเป็นเกณฑ์ในการเลือกสาขาที่จะเรียน  

 


ตอบคำถามการเรียนช่าง :  เรียนช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ยากไหม   ?

คำตอบคือไม่ยากเกินไปและก็ไม่ง่าย  คิดว่าคนส่วนมากสามารถเรียนได้และก็สามารถเช็คตัวเองตอนนี้ได้เลยว่าชอบและเหมาะที่จะเรียนช่างไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ไหม  ?  การเรียนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในระดับ ปวช ปวส  ป.ตรีหรือวิศวะ  ต้องมีการนวณหาค่ากระแส แรงดัน ความต้านทาน  แก้สมการต่างๆ  เพื่อหาค่าของอุปกรณ์ต่างๆที่จะต้องใช้ในวงจร   ให้เช็คตัวเองว่าวิชาคณิต ฟิสิกส์และภาษาอังกฤษเรียนได้ดีระดับหนึ่งไหม  ?    การเรียนช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์นั้นคณิตศาสตร์ต้องดีระดับหนึ่ง วิทยาศาสตร์ต้องดีระดับหนึ่งโดยเฉพาะวิชาฟิสิกส์เพราะเป็นพื้นฐานของช่างหรือวิศวะทุกสาขา ภาษาอังกฤษต้องใช้ในการอ่านตำราภาษาอังกฤษด้วยเพราะสาขาเทคโนโลยีต่างๆจะอ่านเพียงตำราภาษาไทยนั้นมันไม่เพียงพอ ตอนทำงานต้องอ่านคู่มือการทำงานของเครื่องซึ่งเป็นภาษาอังกฤษและอ่านสเปคของอุปกรณ์ต่างๆก็เป็นภาษาอังกฤษด้วยเช่นกัน  หลายครั้งการทำงานจริงๆต้องติดต่อกับต่างประเทศ ถ้าได้ทำงานกับบริษัทต่างชาติภาษาอังกฤษก็ยิ่งจำเป็นและสำคัญมากขึ้นไปอีก    


เรียนช่างอะไรดี  เรียนไฟฟ้ากำลังหรือเรียนอิเล็กทรอนิกส์

น้องๆที่เรียนระดับมัธยมปลายมีการเรียนวิชาฟิสิกส์ก็จะมีบทที่เป็นเรื่องไฟฟ้าอยู่หลายบทเรียนตรงนั้นให้แน่นและเรียนให้เข้าใจเพราะเป็นพื้นฐานที่สำคัญมาก  สำหรับน้องๆที่เรียน ม.ต้น ก็ให้เน้นคณิตและวิทยาศาสตร์ให้เข้าใจเพราะนอกจากจะใช้เรียนต่อ ม.ปลายแล้วถ้าเรามีพืนฐานดีตั้งแต่ตอน ม.ต้นนี้ อนาคตเราก็จะเรียนได้ดีเพราะจากการสังเกตหลายๆวิชาที่เรียน มันจะเป็นวิชาต่อเนื่องกันถ้าเรียนวิชาพื้นฐานให้เข้าใจดีตั้งแต่เทอมแรกปีแรก การเรียนวิชาต่อเนื่องก็จะง่ายไปด้วย  ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราเรียนเข้าใจเรื่องตรีโกณมิติดีก็จะทำให้เราเรียนวิชาไฟฟ้ากระแสสลับเข้าใจง่ายไปด้วยเนื่องจากในวิชาไฟฟ้ากระแสสลับจะมีเรื่องมุมเฟสทางไฟฟ้าและนำเรื่องมุมต่างๆนี้ไปแก้สมการทางไฟฟ้ากระแสสลับเยอะมาก  ถ้าเราเรียนเข้าใจเรื่องการแก้สมการในวิชาคณิตจะทำให้เราเรียนวิชาไฟฟ้ากระแสตรงหาค่าตัวแปรทางไฟฟ้าต่างๆ เช่น  V   I   R   เมื่อเรียนเข้าใจก็จะรู้สึกสนุกกับมันในการเรียนรู้บทต่อๆไป     สำหรับการเรียนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในระดับ  ป.ตรีนั้นจะมีวิชาคณิตศาสตร์ขั้นสูง  การแก้สมการทางไฟฟ้าและวิเคราะห์วงจรไฟฟ้านั้นก็จะใช้คณิตศาสตร์ขั้นสูง   แต่ไม่ต้องกังวลเพราะถ้าวิชาพื้นฐานเราดีระดับหนึ่งบวกกับตอนเรียนเราก็ตั้งใจเรียนมันจะช่วยเสริมกันให้เรียนได้ดีแน่นอน 


เลือกเรื่องถัดไปที่น่าสนใจอ่านต่อ  

เช่น  การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   มี  17 ตอน


อาการเสียวงจรหลอดไฟให้แสงสว่างตามบ้าน แนวทางแก้ หลอดไฟติดๆ ดับๆ หลอดไฟกระพริบ หลอดไฟไม่ติด หลอดไฟไม่สว่าง บัลลาสต์มีเสียงคราง

หลอดไฟที่นิยมใช้ตามบ้านคือหลอดฟลูออเรสเซนต์เนื่องจากประหยัดไฟและราคาไม่แพงมาก ขณะเดียวกันให้ประสิทธิภาพแสงสว่างที่ดี   วงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์ประกอบด้วยส่วนหลักๆคือ หลอดฟลูออเรสเซนต์  สตาร์ทเตอร์  และ  บัลลาสต์  เวลาวงจรหลอดไฟเสียเราก็ต้องมาเช็คส่วนประกอบที่สำคัญเหล่านี้   อาการเสียของวงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์คือ  หลอดไฟติดๆ ดับๆ  หรือ หลอดไฟกระพริบ   หลอดไฟไม่ติด  หลอดไฟไม่สว่าง  หลอดสว่างแล้วดับ  หลอดมีแสงสลัว   บัลลาสต์มีเสียงคราง  เป็นต้น  ก่อนเช็คหรือซ่อมมารู้จักวงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์ก่อน เพื่อใช้วงจรนี้ไล่เช็คอาการเสียต่างๆเป็นลำดับขั้นตอน


หลอดฟลูออเรสเซนต์  ຫລອດໄຟ
ຫລອດໄຟ
                              วงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์  เป็นวงจรหลอดไฟที่นิยมใช้ตามบ้าน



อาการเสียวงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์ให้แสงสว่างตามบ้าน  และ แนวทางแก้

1)     หลอดไฟไม่ติด  หรือ  หลอดไฟไม่สว่าง  
อาการ :   เปิดสวิตช์แล้วหลอดไฟไม่สว่าง  สาเหตุที่เป็นไปได้มีหลายอย่าง ให้ไล่เช็คเป็นลำดับดังนี้ ให้เช็คอะไร ?   ก็เช็คอุปกรณ์หลักๆที่อยู่ในวงจรหลอดไฟตามรูปด้านบน
-  ไฟมาหรือยัง  ?   ไล่เช็คเส้นทางของไฟ  ให้เช็คไฟที่บัลลาสต์ว่ามีไฟมาหรือยัง   สายไฟอาจขาด จุดต่อต่างๆขั้วหลอดอาจหลวม   ไล่ไฟกลับไฟยังสวิตช์เปิดปิดมีหลายครั้งหน้าสัมผัสของสวิตช์เสีย


                                 ใช้ไขควงเช็คไฟวัดไฟที่ขั้วต่อบัลลาสต์ว่ามีไฟมาหรือยัง   ?


-  หลอดไฟขาดหรือไม่   ?    วิธีเช็คหลอดไฟว่าขาดหรือไม่ ใช้มัลติมิเตอร์ตั้งย่านวัดโอห์มวัดไส้หลอดถ้าหลอดยังดีต้องมีค่าความต้านทานขึ้นตามรูป  ถ้าหลอดขาดจะไม่ขึ้นค่าความต้านทานเลย  อีกวิธีให้นำหลอดไฟที่สงสัยว่าจะเสียไปต่อกับวงจรหลอดไฟจุดอื่นๆในบ้านที่สว่างปกติ ถ้าต่อทดสอบกับจุดอื่นแล้วหลอดไฟไม่สว่างแสดงว่าหลอดไฟเสียแล้ว ถ้าหลอดไฟยังสว่างแสดงว่าหลอดไฟยังดีอยู่  ให้ไล่เช็คอุปกรณ์ตัวอื่นๆต่อ

ຫລອດໄຟ
                                                         เช็คไส้หลอด ถ้าไม่ขาดจะมีค่าความต้านทาน


-  บัลลาสต์ขาดหรือไม่  ?   วิธีเช็คบัลลาสต์ สามารถเช็คได้ตอนมีไฟ และเช็คตอนไม่มีไฟ    วิธีเช็คบัลลาสต์ตอนมีไฟคือหลังจากเปิดสวิตช์แล้วต้องมีไฟที่ขั้วบัลลาสต์ทั้งเส้นไฟเข้าและเส้นไฟออก ลักษณะบัลลาสต์ก็เหมือนขดลวดไฟเข้ามาแล้วต้องผ่านออกไปยังหลอดไฟได้   ถ้าไม่มีไฟขั้วไฟออกแสดงว่าขดลวดขาด    วิธีเช็คบัลลาสต์ตอนไม่มีไฟคือให้ปิดสวิตช์และถอดสายไฟออกจากบัลลาสต์ 1 เส้นแล้ววัดค่าความต้านทานของขดลวดถ้าขดลวดไม่ขาดจะขึ้นค่าความต้านทาน   อีกอาการเสียของบัลลาสต์คือขดลวดช๊อตกันถ้าใช้มัลติมิตเตอร์วัดแล้วจะได้ค่าความต้านทานต่ำมาก ปกติแล้วถ้าบัลลาสต์ดีจะมีค่าความต้านทาน 30-100 โอห์มขึ้นอยู่กับขนาดวัตต์ของบัลลาสต์

                                                 วิธีเช็คบัลลาสต์ เช็คตอนมีไฟใช้ไขควงวัดไฟ

วิธีเช็คบัลลาสต์

               วิธีเช็คบัลลาสต์ตอนไม่มีไฟ คือปิดสวิตช์ปลดสายออก 1 เส้น  แล้ววัดค่าความต้านทาน
               บัลลาสต์ดีจะมีค่าความต้านทาน 30-100 โอห์ม   ขึ้นอยู่กับขนาดวัตต์ของบัลลาสต์
               ขาด- วัดแล้วไม่ขึ้นค่าความต้านทานเลย   ช๊อต-วัดแล้วได้ค่าความต้านทานต่ำมาก


-  สตาร์ทเตอร์เสียหรือไม่   ?   วิธีเช็คสตาร์ทเตอร์คือให้นำสตาร์ทเตอร์ตัวที่สงสัยว่าจะเสียไปทดสอบกับวงจรหลอดไฟจุดอื่นๆในบ้านที่ยังสว่างปกติ  ถ้าต่อทดสอบกับจุดอื่นแล้วหลอดไฟสว่างปกติแสดงว่าสตาร์ทเตอร์ไม่เสีย  

วิธีเช็คสตาร์ทเตอร์
              นำสตาร์ทเตอร์ตัวที่สงสัยว่าจะเสียไปทดสอบกับวงจรหลอดไฟจุดอื่นๆที่ยังสว่างปกติ


2)     หลอดไฟกระพริบ   หลอดไฟดับๆติดๆ 
สาเหตุที่เป็นไปได้  :   
-   สตาร์ทเตอร์เสีย  ?   บัลลาสต์เสีย   ?   ให้เช็คตามวิธีการในข้อ 1) ด้านบน
-   ไฟตกหรือไม่   ?  ให้ใช้มัลติมิเตอร์เช็ควัดแรงดันไฟฟ้าว่าได้ประมาณ  220VAC ไหม   ?
-   หลอดไฟเสื่อมสภาพใกล้เสีย   สังเกตที่บริเวณใกล้ขั้วหลวดจะมีสีดำชัดเจน  ให้นำหลอดไฟตัวที่สงสัยว่าจะเสียไปทดสอบที่วงจรหลอดไฟจุดอื่นๆ  
-   ขั้วหลอดเสีย   กระแสไฟฟ้าไหลไม่สะดวก ให้ลองทำความสะอาดแล้วปรับให้มันยึดขั้วหลอดไฟให้แน่น

3)   หลอดไฟมีแสงสลัว   มีคราบฝุ่นต่างๆติดที่ตัวหลอดไฟ    ให้ทำความสะอาดหลอดไฟ
4)   บัลลาสต์มีเสียงคราง 
สาเหตุที่เป็นไปได้  :  
-  ยึดบัลลาสต์ไม่แน่น ให้ขันน๊อตให้แน่น
- ใช้ขนาดวัตต์ของบัลลาสต์ไม่เหมาะกับขนาดวัตต์ของหลอดไฟ   ให้เลือกใช้ให้เหมาะสม
-  บัลลาสต์เสื่อมสภาพ ใช้ไปนานๆแกนเหล็กข้างในมีคุณสมบัติเปลี่ยนไป   ให้เปลี่ยนบัลลาสต์



เลือกหัวข้อต่อไปนี้   เพื่ออ่านต่อ    
เช่น   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   มี   17  ตอน